วันอังคาร, 28 มีนาคม 2566

การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ และตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้

เรื่อง  แผนการจัดการเรียนรู้                                                                                     

แผนการจัดการเรียนรู้  เป็นกระบวนการที่ครูเตรียมการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และเชื่อมโยงหลักสูตรกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้สอนสามารถออกแบบการจัดการเรียนรู้ ตามองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ เลือกสรร กระบวนการที่ผู้เรียนจะได้รับการพัฒนาตามมาตรฐานการเรียนรู้และเต็มศักยภาพของแต่ละบุคคล   รวมทั้งผู้เรียนจะต้องได้รับการพัฒนาทักษะในการแสวงหาความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย   สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้ ดังนั้นแผนการจัดการเรียนรู้จึงเปรียบเสมือนเป็นเครื่องมือที่นำไปสู่เป้าหมายของความสำเร็จที่ผู้สอนคาดหวังไว้

องค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้

         องค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ที่สำคัญแยกเป็นสองส่วน   ได้แก่  

1. ส่วนหัวของแผน   ได้แก่  

       โรงเรียน…………………………………………………………………..ชั้น…………..

        หน่วยการเรียนรู้ที่…………เรื่อง………………………….เวลา…………ชั่วโมง

        แผนการจัดการเรียนรู้ที่………เรื่อง…………………..วันที่………………. เวลา…………….น.

2. ส่วนที่สองรายการที่สำคัญ ที่ต้องระบุในแผนการจัดการเรียนรู้  ได้แก่

            2.1 สาระสำคัญ(ความคิดรวบยอดหรือมโนมติของบทเรียน)  หมายถึง สาระสำคัญของเนื้อหา  ประสบการณ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียนหลังจากนักเรียนได้รับการปลูกฝังด้วยเทคนิควิธีการจากครู  และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมรวมทั้งทำหน้าที่เป็นตัวกำหนดขอบเขตเนื้อหา  ความรู้  จุดประสงค์ของการเรียนการสอนในแต่ละครั้ง ควรเขียนเป็น ประโยคหรือข้อความสั้นๆ

            2.2   จุดประสงค์การเรียนรู้ แบ่งเป็น 2 ลักษณะดังนี้

         2.2.1 จุดประสงค์ปลายทาง      เป็นจุดประสงค์การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับนักเรียน ซึ่งสะท้อนผลรวมทั้งหมดที่มุ่งหวัง และปรารถนาจะให้เกิดกับนักเรียนทุกคน เมื่อผ่านกระบวนการเรียนการสอนวิชานั้นแล้ว อีกทั้งยังสะท้อนจุดเน้นเด่นๆ ของเนื้อหาวิชาและพฤติกรรมสำคัญๆ ของวิชานั้นๆ หรือ อาจจะสะท้อนผลสรุปขั้นสุดท้ายของกระบวนการเรียนรู้ก็ได้ วิธีการเขียนให้ยึด   “สาระการเรียนรู้เป็นหลัก”   และนำกรอบพฤติกรรมบ่งชี้มาวิเคราะห์ให้สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้และมาตรฐานการเรียนรู้   เช่น

      1)  เพื่อให้รู้และเข้าใจระบอบการปกครองระบอบประชาธิปไตย 

      2)  เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย

      3)  เพื่อให้ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยได้

     2.2.2 จุดประสงค์นำทาง  เป็นความคาดหวังที่เกิดขึ้นกับนักเรียนระหว่างการเรียนในแต่ละครั้ง การเขียนจุดประสงค์นำทางมีวัตถุประสงค์ให้ผู้สอนได้พิจารณาถึงผลการเรียนย่อยๆ หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่ควรจะเกิดขึ้นในระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  วิธีการเขียนผู้สอนต้องกำหนดพฤติกรรมย่อยๆของสาระการเรียนรู้ย่อยเพื่อนำไปสู่จุดประสงค์ปลายทาง  สามารถเปรียบ เทียบให้เห็นได้ดังนี้

จุดประสงค์ปลายทาง จุดประสงค์นำทาง
เพื่อให้รู้และเข้าใจระบอบการปกครองระบอบประชาธิปไตย  1)บอกลักษณะและประเภทของการปกครองระบอบประชาธิปไตย  ได้ 2) อธิบายความสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย  ได้
เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย 1) ยกตัวอย่างหลักการของระบอบประชาธิปไตยในการดำรงชีวิต ได้
เพื่อให้ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยได้ 1) ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยในชีวิตประจำวัน ได้

            2.3 สาระการเรียนรู้   หมายถึงประมวลสาระแห่งองค์ความรู้หรือสาระการเรียนรู้ที่ปรากฏอยู่ในขอบข่ายของเรื่องที่กำหนดให้เรียน   สามารถเขียนโดยอาศัยพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นตัวกำหนดได้   เช่น

            ด้านความรู้  :  ได้แก่สาระความรู้ที่กำหนดให้ผู้เรียนได้เรียน

           ด้านทักษะกระบวนการ  :  หมายถึงทักษะที่เกี่ยวข้องกับสาระการเรียนรู้  ทักษะการทำงาน   ทักษะการเรียนรู้ที่ต้องการให้ผู้เรียนได้ฝึก

            ด้านเจตคติ  คุณค่า  :  หมายถึงอารมณ์ความรู้สึก  การเห็นประโยชน์  คุณค่าของเรื่องที่เรียน

2.4   กิจกรรมการเรียนรู้   /  กระบวนการจัดการเรียนรู้  หมายถึง  วิธีการสอน   รูปแบบการสอนแบบต่างๆ  ที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ หรือเป็นขั้นตอนและวิธีการของการกระทำกิจกรรมต่างๆตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการเรียนรู้ที่สามารถให้นักเรียนได้แสดงออกทั้งด้าน  การปฏิบัติด้วยการใช้ความคิด   พูด   และกระทำเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ในขณะที่เรียน

                   กิจกรรมการเรียนรู้ เป็นจัดการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง  หลักของการนำกิจกรรมการเรียนการสอนมาทำแผนการจัดการเรียนรู้คือ  ยึดหลักนักเรียนเป็นศูนย์กลางของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนมากที่สุด  วิชาสังคมศึกษาเป็นวิชาที่มีลักษณะเป็นนามธรรม  ดังนั้นการนำกิจกรรมการเรียนการสอนที่ให้นักเรียนได้คิดวิเคราะห์มาใช้จัดกิจกรรมในแผนการจัดการเรียนรู้จะช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ สื่อการสอน  ได้แก่  วัสดุ  อุปกรณ์  และเทคนิควิธีการต่างๆ  เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในบทเรียน  สื่อในวิชาสังคมศึกษาจะอยู่ในลักษณะของแหล่งความรู้  เช่น  บ้านเรือน  โบราณสถาน  โบราณวัตถุ  บุคคลในชุมชน  หนังสือพิมพ์  โทรทัศน์  รวมทั้งสื่อที่ประดิษฐ์ขึ้นเอง  เช่น  บัตรคำ  ภาพพลิก  สไลด์  ชุดการสอน  ฯลฯ  สื่อการสอนที่จะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้นั้นอยู่ที่การเลือกใช้ของผู้สอนให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ในแผนการจัดการเรียนรู้ การวัดการประเมินผล  ผลของการเรียนในแต่ละชั่วโมง  นักเรียนจะประสบผลสำเร็จในการเรียนและครูประสบผลสำเร็จในการสอนหรือไม่เพียงใด  เพื่อที่จะพัฒนาการเรียนการสอนให้ดีขึ้น  ซึ่งครูต้องกำหนดว่าจะใช้วิธีการประเมินผลใดบ้าง  โดยทั่วไปแล้วการวัดการประเมินผลสังคมศึกษามีหลายวิธี  เช่น  การสังเกต  การสัมภาษณ์  การตรวจผลงาน  การทดสอบ

            6)    สื่อและแหล่งการเรียนรู้     หมายถึง  การเตรียมสื่อต่างๆ   เช่น      ใบความรู้   สื่อ  วัสดุ  อุปกรณ์  สื่อบุคคล  กรณีศึกษา นิทาน   เครื่องโสตทัศนูปกรณ์ วีดิทัศน์   แถบเสียง   แผ่นโปร่งใส  Power   Point     กระดาษ   ปากกา  สี  บัตรคำ  บัตรความรู้   ใบงาน  หนังสือ   ตำรา  เอกสารอ้างอิง   ฯลฯ        แหล่งเรียนรู้ที่ใช้ประกอบในการทำกิจกรรมการเรียนรู้ในคาบนั้นๆ  เช่น แหล่งเรียนรู้ในชุมชน วัด ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล ศาลจังหวัด สถานีตำรวจ อนามัยตำบล ฯลฯ 

            7) การวัดและประเมินผล   หมายถึง   ออกแบบการประเมินผลและการสร้างเครื่องมือเพื่อใช้ในการประเมินผล   ในที่นี้หมายถึงการวัดและประเมินผลการเรียนเป็นรายคาบ    ได้แก่   การสังเกตความสนใจและการมีส่วนร่วม   การแสดงความคิดเห็นและการตรวจผลงาน   การใช้แบบทดสอบ   การทำแฟ้มสะสมงาน  เป็นต้น  การจัดกิจกรรมในขั้นนี้ได้แก่   การนำผลงานมาติดที่ป้ายนิเทศ   การอ่านหนังสือเพิ่มเติมนอกเวลา   การทำแบบทดสอบ  ฯลฯ

                8) บันทึกผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้  ผู้สอนสามารถประเมินแผนการจัดการเรียนรู้   โดยใช้บันทึกผลการใช้แผนฯ  เพื่อปรับปรุงและพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ต่อไป

ขั้นตอนในการทำแผนการจัดการเรียนรู้  การทำแผนการจัดการเรียนรู้  มีขั้นตอนดังนี้

  1.  วิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา สาระการเรียนรู้รายปีหรือรายภาค และหน่วยการเรียนรู้ที่สถานศึกษาจัดทำขึ้น เพื่อประโยชน์ในการเขียนรายละเอียดของแต่ละหัวข้อของแผนการจัดการเรียนรู้
  2.  วิเคราะห์ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังเพื่อนำมาเขียนเป็นจุดประสงค์การเรียนรู้โดยให้ครอบคลุมพฤติกรรมทั้งด้านความรู้ ทักษะ/กระบวนการ เจตคติ และค่านิยม
  3. วิเคราะห์สาระการเรียนรู้ โดยเลือกและขยายสาระที่เรียนรู้ให้สอดคล้องกับผู้เรียน ชุมชนและท้องถิ่น
  4. วิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ โดยเลือกรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
  5. วิเคราะห์กระบวนการประเมินผลโดยเลือกใช้วิธีการวัดผล  ประเมินผลให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้  และสร้างแบบวัดประเมินผลให้ครอบคลุมเนื้อหาด้วย
  6. วิเคราะห์แหล่งเรียนรู้ โดยคัดเลือกสื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียนให้เหมาะสมกับกระบวนการจัดการเรียนรู้(คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,2549)

วิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ /การจัดการเรียนรู้ 

                  ผู้สอนต้องวิเคราะห์จุดประสงค์และสาระการเรียนรู้เพื่อออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ   ตามองค์ประกอบการเรียนรู้ต่อไปนี้ 

  • ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน  เป็นกระบวนการที่ครูกระตุ้นให้ผู้เรียนดึงหรือเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับสถานการณ์ใหม่   การแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันนี้ช่วยให้ผู้เรียนรวบรวมมวลประสบการณ์ที่หลากหลายแล้วนำไปสู่การเรียนรู้สิ่งใหม่ร่วมกัน   การจัดกิจกรรมในขั้นนี้ได้แก่   การตั้งคำถาม   การให้แก้ไขปัญหาด้วยความรู้เดิม   เป็นต้น
    • มีกิจกรรมการสร้างความรู้ร่วมกัน    เป็นองค์ประกอบที่ช่วยให้ผู้เรียนได้คิด   วิเคราะห์  สังเคราะห์และสร้างสรรค์มวลประสบการณ์   ข้อมูล  ความคิดเห็น ฯลฯ  เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถ่องแท้   หรือเกิดข้อสรุปของความรู้ใหม่  ตลอดจบตรวจสอบ  ปรับ/เปลี่ยนความคิดความเชื่อของตน การจัดกิจกรรมในขั้นนี้ได้แก่   การตั้งประเด็นให้ผู้เรียนได้คิด   และสะท้อนความคิด   ปรับเปลี่ยนความคิดอย่างลึกซึ้ง   จนเกิดความเข้าใจชัดเจน  จนได้ข้อสรุปหรือความรู้ใหม่ตามจุดประสงค์ที่กำหนด
    • กระบวนการเรียนรู้ความรู้จากครู  (ผ่านสื่อและแหล่งการเรียนรู้)   เป็นองค์ประกอบที่ที่ผู้เรียนได้รับข้อมูลความรู้   แนวคิด  ทฤษฎี  หลักการ  ขั้นตอน  หรือข้อสรุปต่างๆ   โดยครูเป็นผู้จัดให้เพื่อเป็นประโยชน์ในการสร้างความรู้ใหม่  และช่วยให้การเรียนรู้บรรลุวัตถุประสงค์ การจัดกิจกรรมในขั้นนี้ได้แก่  การให้แนวคิด   ทฤษฎีหลักการ  ข้อมูลความรู้   ขั้นตอนทักษะ  ฯลฯ  ซึ่งทำได้หลายทางเช่น   บรรยาย  ดูวีดีทัศน์  อ่านเอกสาร   ใบความรู้  ตำรา   ฯลฯ
    • ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติหรือประยุกต์ใช้  เป็นองค์ประกอบที่ทำให้ผู้เรียนได้นำความคิดรวบยอดหรือข้อสรุปหรือความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นจากการเรียนไปประยุกต์หรือทดลองใช้   อาจกล่าวอีกทางหนึ่งว่า  เป็นผลสำเร็จของการเรียนรู้ในองค์ประกอบข้างต้นที่กล่าวมาแล้ว   และในขั้นนี้เป็นขั้นที่สะท้อนกระบวนการจัดการเรียนรู้ว่า  มิใช่เพียงเรียนรู้เท่านั้นแต่เป็นกระบวนการที่ได้ใช้ความรู้ที่เรียน   ทำให้เกิดเป็นทักษะและเจตคติที่ดีต่อการเรียนตามมา  การจัดกิจกรรมในขั้นนี้ได้แก่   การทำแผนภาพ   จัดนิทรรศการ   ทำรายงานสรุปสาระสำคัญ   ตารางวิเคราะห์   ฯลฯ
  • ออกแบบปฏิสัมพันธ์ในแต่ละกิจกรรมการเรียนรู้  โดยเลือกใช้กระบวนการที่

หลากหลาย   เช่น กระบวนการกลุ่ม  ทั้งกลุ่มขนาดเล็ก  กลาง  และใหญ่   การออกแบบปฏิสัมพันธ์ในกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ   จึงเป็นการจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากกลุ่มมากที่สุด   แทนการเรียนด้วยการฟังครูพูด  (บรรยาย)  มีผลงานวิจัยสนับสนุนว่าการเรียนเป็นกลุ่มมีผลดีต่อผู้เรียนคือ  ช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น   ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และจริยธรรม   ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข

            4.    สื่อ  อุปกรณ์  และแหล่งการเรียนรู้     หมายถึง  การเตรียมสื่อต่างๆ   เช่น  ใบงาน   ใบความรู้   สื่อ  วัสดุ  อุปกรณ์   แหล่งเรียนรู้ที่ใช้ประกอบในการทำกิจกรรมการเรียนรู้ในคาบนั้นๆ   เช่น  กรณีศึกษา   วีดิทัศน์   แถบเสียง   แผ่นโปร่งใส  Power   Point   สื่อบุคคล   นิทาน   เครื่องโสตทัศนูปกรณ์   กระดาษ   ปากกา  สี  บัตรคำ  บัตรความรู้   ใบงาน  หนังสือ   ตำรา   เอกสารอ้างอิง   ฯลฯ     

              5. การวัดและประเมินผล   หมายถึง   ออกแบบการประเมินผลและการสร้างเครื่องมือเพื่อใช้ในการประเมินผล   ในที่นี้หมายถึงการวัดและประเมินผลการเรียนเป็นรายคาบ    ได้แก่   การสังเกตความสนใจและการมีส่วนร่วม   การแสดงความคิดเห็นและการตรวจผลงาน   การใช้แบบทดสอบ   การทำแฟ้มสะสมงาน  เป็นต้น  การจัดกิจกรรมในขั้นนี้ได้แก่   การนำผลงานมาติดที่ป้ายนิเทศ   การอ่านหนังสือเพิ่มเติมนอกเวลา   การทำแบบทดสอบ  ฯลฯ

                6.จัดการเรียนรู้และบันทึกผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้  ผู้สอนสามารถประเมินแผนการจัดการเรียนรู้   โดยใช้บันทึกผลการใช้แผนฯ  เพื่อปรับปรุงและพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ต่อไป

ดาวน์โหลดตัวอย่าง แผนการจัดการเรียนรู้         

ให้คะแนนบทความนี้
[รวม: 5 เฉลี่ย: 4.2]
1 ความคิดเห็น
ซูเฟียนี สุหลง เมื่อ 20/11/2019 10:48

แผนการจัดการเรียนรู้