แนวทางการเตรียมความพร้อมในการเก็บเอกสารเพื่อรับการประเมิน ตามแนวทาง ว21

แนวทางการเตรียมความพร้อมในการเก็บเอกสารเพื่อรับการประเมิน ตามแนวทาง ว21 ก.ค.ศ. ได้กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะ และเลื่อนวิทยฐานะ ผู้ขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะต้องผ่านการประเมิน ดังนี้

1. ทุกวิทยฐานะต้องผ่านการประเมินผลงาน ที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ โดยพิจารณาจาก “ด้านการจัดการเรียนการสอน” “ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน” และ “ด้านการพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ”

2. วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ และวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญพิเศษ นอกจากต้องผ่านการประเมินตามข้อ 1ด้านบนแล้ว แต่จะต้องผ่านการประเมินผลงานทางวิชาการ ที่แสดงให้เห็นถึงสมรรถนะในการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาวิชาชีพ

วิธีการประเมินแต่ละตัวชี้วัดให้ดำเนินการ ดังนี้

             1. ให้ผู้ดำรงตำแหน่งครูประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ 3 ด้าน 13 ตัวชี้วัด โดยพิจารณาจากการปฏิบัติงานจริง พร้อมทั้งให้แนบเอกสารหลักฐาน เพื่อประกอบการพิจารณาของผู้อำนวยการสถานศึกษาด้วย

          2. ให้ผู้ดำรงตำแหน่งครูบันทึกระดับคุณภาพที่ได้ในตารางสรุปผลการประเมินกรณีตัวชี้วัดใดมีผลการประเมินต่ำกว่าระดับ 1 หรือมีกิจกรรมไม่ครบถ้วนตามระดับคุณภาพ ไม่ให้คะแนนสำหรับตัวชี้วัดนั้น

เกณฑ์การตัดสิน

  วิทยฐานะครูชำนาญการ

       (1) ด้านที่ 1 ทุกตัวชี้วัดต้องได้ไม่ต่ำกว่าระดับ 2

       (2) ด้านที่ 2 – 3 แต่ละด้านต้องได้ไม่ต่ำกว่าระดับ 2 ไม่น้อยกว่า 1 ตัวชี้วัด

วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ

     (1) ด้านที่ 1 ทุกตัวชี้วัดต้องได้ไม่ต่ำกว่าระดับ 3

     (2) ด้านที่ 2 – 3 ทั้ง 2 ด้านต้องได้ไม่ต่ำกว่าระดับ 2 และรวมกันแล้วไม่น้อยกว่า 3 ตัวชี้วัด

วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ

     (1 ) ด้านที่ 1 ทุกตัวชี้วัดต้องได้ไม่ต่ำกว่าระดับ 4

      (2 ) ด้านที่ 2 – 3 ทั้ง 2 ด้านต้องได้ไม่ต่ำกว่าระดับ 3 และรวมกันแล้วไม่น้อยกว่า 3 ตัวชี้วัด
วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญพิเศษ

 (1) ด้านที่ 1 ทุกตัวชี้วัดต้องได้ไม่ต่ำกว่าระดับ 5

 (2) ด้านที่ 2 – 3 ทั้ง 2 ด้านต้องได้ไม่ต่ำกว่าระดับ และรวมกันแล้วไม่น้อยกว่า 3 ตัวชี้วัด

การประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ตำแหน่งครระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีการประเมิน 3 ด้าน 13 ตัวชี้วัด ดังนี้

1. ด้านการจัดการเรียนการสอน

1.1 การสร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร

1.2 การจัดการเรียนรู้
1.2.1 การออกแบบหน่วยการเรียนรู้
1.2.2 การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้/แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)/แผนการสอนรายบุคคล (IIP)/แผนการจัดประสบการณ์
1.2.3 กลยุทธ์ในการจัดการเรียนรู้
1.2.4 คุณภาพผู้เรียน

1.3 การสร้างและการพัฒนา สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษา และแหล่งเรียนรู้

1.4 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

1.5 การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้

 2. ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน

2.1 การบริหารจัดการชั้นเรียน

2.2 การจัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

2.3 การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ และเอกสารประจำชั้นเรียนหรือประจำวิชา

3. ด้านการพัฒนาตนเอง และพัฒนาวิชาชีพ

3.1 การพัฒนาตนเอง

3.2 การพัฒนาวิชาชีพ

ที่มา: ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.4/ว 20

ชุดข้าราชการ หญิงแขนสั้น
ชุดกากี
สั่งซื้อได้เลยจาก Shopee

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *