รูปแบบการเขียนอ้างอิง
การอ้างอิง หมายถึง การบอกรายละเอียดของแหล่งสารนิเทศที่ใช้อ้างอิงในการศึกษาค้นคว้าซึ่งนำเสนอในรูปของรายงาน ภาคนิพนธ์ บทความ หนังสือวิชาการ และรายงานการวิจัย
ความสำคัญของการอ้างอิง
- เพื่อให้ผู้อ่านหรือผู้ที่มาศึกษาค้นคว้า สามารถตรวจสอบหรือติดตามศึกษาเพิ่มเติมได้
- เพื่อให้เกียรติแก่ผู้แต่งสารนิเทศที่ใช้อ้างอิง
- เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือแก่ผลงาน ให้กับผู้ที่ได้อ่าน
วิธีเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรม จะปรากฏอยู่ทั้งส่วนเนื้อหาและท้ายเล่ม คือ
- ส่วนเนื้อหา คือ รายการอ้างอิง (Reference List) ซึ่งจะมีรูปแบบการอ้างอิงที่ใช้อยู่ทั่วไป 3 แบบ ได้แก่ แบบเชิงอรรถ แบบแทรกในเนื้อหา และแบบอ้างอิงท้ายบท
- ส่วนท้ายเล่ม คือ บรรณานุกรม (Bibliography) ซึ่งได้แก่ รายละเอียดของแหล่งสารนิเทศที่ใช้อ้างอิงในเนื้อหาทุกรายการ ทั้งที่ปรากฏชัดเจนโดยเขียนอ้างอิงไว้ และส่วนที่ไม่ปรากฏชัดเจน แต่อาจจะเป็นเพียงการรวบรวมความคิดหลายๆ แนว แล้วนำมาเรียบเรียงใหม่
หมายเหตุ รูปแบบการเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรมในเอกสารนี้ จะอ้างอิงตามแบบ APA Style
วิธีเขียนอ้างอิง
- การอ้างอิงแบบเชิงอรรถ (Footnote)
เป็นการอ้างอิงที่แยกการอ้างอิงออกจากเนื้อหาโดยเด็ดขาด โดยให้อยู่ส่วนล่างสุดของหน้ากระดาษแต่ละหน้า
- การอ้างอิงท้ายบท
เป็นการอ้างอิงที่สะดวก เนื่องจากไม่ต้องพะวงการกะระยะเนื้อที่แต่ละหน้าของบทนิพนธ์ เพื่อเผื่อเขียนอ้างอิงเหมือนการอ้างอิงแบบเชิงอรรถ เพราะการอ้างอิงทั้งหมดจะไปรวมอยู่หน้าสุดท้ายของแต่ละบท
- การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา
เป็นการอ้างอิงที่อยู่รวมกันกับเนื้อหา ไม่แยกกันคนละส่วนเหมือนการอ้างอิงแบบเชิงอรรถ หรือแบบการอ้างอิงท้ายบท ทำให้รูปแบบการอ้างอิงกะทัดรัด และยืดหยุ่นกว่า เพราะสามารถเขียนชื่อผู้แต่งให้กลมกลืนไปกับเนื้อหาได้ หรือจะแยกใส่ไว้ในวงเล็บก็ได้
การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา (มหาวิทยาลัยบูรพา, 2544; American Psychological Association, 2001)
หลักเกณฑ์การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา
- การอ้างอิงจะมีชื่อผู้แต่ง และปีที่พิมพ์ อยู่ในวงเล็บ แต่ถ้ามีชื่ออยู่แล้ว ให้ใส่เฉพาะปีที่พิมพ์ในวงเล็บ เช่น
– ศักดิ์สิทธิ์ (2552) กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกมักเกี่ยวข้องกับแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง
– เปลือกโลก ประกอบด้วยแผ่นขนาดใหญ่ 6 – 10 แผ่น (ศักดิ์สิทธิ์, 2552)
2 รูปแบบการเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรม | อดุลย์เดช ไศลบาท
ลงเป็น (ทองฉัตร อ้างถึงใน นวลจันทร์, 2542)
– สารนิเทศต้นฉบับ คือ Regier, A. A., Narrow, W. E., & Rae, D. S., 1990
สารนิเทศรอง คือ Coltheart, M., Curtis, B., Atkins, P., & Haller, M., 1993
ลงเป็น (Regier, Narrow, & Rae as cited in Coltheart, Curtis, Atkins, & Haller, 1993)
สรุปหลักเกณฑ์ทั่วๆ ไปของการอ้างอิงทั้ง 3 แบบ
- เมื่อตัดสินใจเลือกใช้การอ้างอิงแบบใด ให้ใช้แบบนั้นไปจนจบบทนิพนธ์เรื่องนั้นๆ จะใช้หลายๆ แบบผสมกันไม่ได้ อีกทั้งจะต้องเป็นแบบเดียวกันกับบรรณานุกรม
- รายชื่อวัสดุอ้างอิงทั้งหมด จะต้องไปปรากฏอยู่ในบรรณานุกรม จะขาดไปไม่ได้แม้แต่รายการเดียว