แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกาย ของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษา (อายุ 13 – 18 ปี)
สมรรถภาพทางกาย (Physical Fitness)
กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีพันธกิจหลักในการพัฒนา สุขภาพและสมรรถภาพทางกายของประชาชนทุกกลุ่มอายุ โดยสำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้ดำเนินการจัดทำ แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายของประชาชนไทย ตั้งแต่อายุ 7 – 69 ปีี เพื่อเผยแพรให้แก่สถานศึกษา หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพและสมรรถภาพ ทางกาย รวมถึงประชาชนที่สนใจเพื่อจะได้นำแบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกาย ในแต่ละกลุ่มอายุที่สร้างและพัฒนาขึ้นอย่างเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย ไปใช้เพื่อเป็น ประโยชน์ในการประเมินสมรรถภาพทางกายด้วยการทดสอบและประเมินผลได้เป็นไปตาม เกณฑ์มาตรฐานเหมาะสมกับแต่ละกลุ่มวัย เพื่อจะได้ทำให้ทราบข้อมูลพื้นฐาน ด้านสมรรถภาพ ทางกาย และสามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปวางแผนในการส่งเสริมพัฒนาสุขภาพและสมรรถภาพ ทางกาย ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งผลให้มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรงปราศจากโรคภัย ต่อไป
กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เล็งเห็นถึงความสำคัญของการ ทดสอบสมรรถภาพทางกายและการประเมินสมรรถภาพทางกายของประชาชนไทย จึงได้จัดทำแบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายสำหรับเด็กที่กำลังศึกษาในอยู่ระดับ มัธยมศึกษา อายุระหว่าง 13 – 18 ปี เพื่อเผยแพรให้กับโรงเรียนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำไปใช้ประโยชน์ เนื่องจากวัยเด็กเป็นวัยที่อยู่ในช่วงการพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญ การออกกำลังกายและเล่นกีฬาเป็นการช่วยกระตุ้นและพัฒนาระบบต่างในร่างกาย ที่จะช่วยให้เด็กมีการเจริญเติบโตเหมาะสมตามวัย ทำให้มีร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ และยังช่วย ส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดี ดังนั้น การเริ่มต้นจากการประเมินสมรรถภาพทางกายด้วยแบบการทดสอบ สมรรถภาพทางกายที่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานและเหมาะสมตามวัย จะทำให้ทราบข้อมูล พื้นฐานด้านสมรรถภาพทางกาย ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการส่งเสริมสุขภาพและภาวะ โภชนาการให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตและกิจกรรมตามวัยของเด็ก
ความหมายของสมรรถภาพทางกาย สมรรถภาพทางกาย (physical ftness) หมายถึง สภาวะของร่างกายที่อยู่ ในสภาพที่ดีเพื่อช่วยให้บุคคลสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดอัตราเสี่ยงของปัญหา สุขภาพที่เป็นสาเหตุจากการออกกำลังกายสร้างความสมบูรณ์และแข็งแรงของร่างกายในการเข้าร่วม กิจกรรมการออกกำลังกายได้อย่างหลากหลาย บุคคลที่มีสมรรถภาพทางกายดีจะสามารถปฏิบัติ กิจต่างๆ ในชีวิตประจำวันการออกกำลังกาย การเล่นกีฬา และการแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างดี สมรรถภาพทางกายแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ (health-related physical ftness) และสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับทักษะ (skill-related physical fitness) (สุพิตร, 2549)
ดาวน์โหลด
https://www.dpe.go.th/manual-files-411291791795
อ้างอิง : กรมพลศึกษา DEPARTMENT OF PHYSICAL EDUCATION