หลักในการบันทึกการสังเกต
1. การบันทึกการสังเกตจำเป็นต้องมีการบันทึกสภาวะแวดล้อมและพฤติกรรมต่างๆของเด็กรวมตลอดถึงพฤติกรรมของคนรอบข้างเด็กด้วย
2.การรายงานการบันทึกการสังเกตต้องมีการรายงาน
ตามลำดับก่อนหลัง
3.การบันทึกการสังเกต
ควรบรรยายสิ่งที่เด็กทำได้มากกว่าสิ่งที่เด็กทำไม่ได้
ข้อดีของการบันทึกการสังเกต
1. เด็กไม่จำเป็นต้องใช้ความสามารถในการอ่านและเขียน
2. เด็กจะไม่รู้สึกว่าตนกำลังถูกสังเกต
หรือถูกบันทึกข้อมูลอยู่
3. กิจวัตรประจำวัน
หรือตารางเวลาในการเรียน หรือการทำกิจกรรมของเด็กไม่มีการเปลี่ยนแปลง
4. ช่วยให้ครูได้ทราบข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับพฤติกรรมบางอย่างของเด็ก
5. เป็นวิธีการที่ได้รับการยอมรับจากนักการศึกษาปฐมวัยว่าเป็นวิธีที่เหมาะสม
สรุป การบันทึกการสังเกต
1. บันทึกการสังเกตพฤติกรรมเด็กอย่างเป็นระบบถือเป็นวิธีการพื้นฐานที่สำคัญวิธีหนึ่ง
2. ในการประเมินผลพัฒนาการเด็กและถ้าผู้สังเกตมีความถี่ถ้วนในการสังเกตมากเท่าไร
โอกาสที่ผู้สังเกตจะจัดการเรียนการสอนเพื่อสนองความต้องการของเด็กแต่ละคนก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น
ประเภทของการสังเกต
1. การสังเกตแบบบรรยาย
2. ระเบียนพฤติการณ์ ( Anecdoctal Record ) เป็นการบันทึกพฤติกรรมของเด็กตามที่สังเกตได้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ โดยบันทึกหลังจากพฤติกรรมนั้นเกิดขึ้นและเป็นการบันทึกจากความทรงจำ
ดาวน์โหลด
ขอความอนุเคราะห์บันทึกหลังสอนค่ะ ขอบคุณค่ะ
ขออนุเคราะห์บันทึกหลังสอนค่ะ ขอบคุณค่ะ
ขอความอนุคราะห์บันทึกหลังแผน อ. 1 ค่ะ เมล [email protected] ขอบคุณมากค่ะ
ครับผม
ขอความอนุเคราะห์บันทึกหลังสอนค่ะ ขอบคุณค่ะ
ขอความอนุเคราะห์บันทึกหลังแผนการจัดประสบการณ์ค่ะ ขอบคุณค่ะ
สามารถดาวน์โหลดได้เลยครับ