สรุปสาระสําคัญ ของ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ที่ผ่านการพิจารณาของ คณะกรรมาธิการวิสามัญร่าง พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร (วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2542)
- คำปรารภ การจำกัดสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 และเสรีภาพในการประกอบกิจการตามมาตรา 50
- คำนิยาม ได้กำหนดคำนิยามไว้ 14 คำนิยาม ได้แก่ “การศึกษา” “การศึกษาขึ้นพื้นฐาน” “การศึกษาตลอดชีวิต” “สถานศึกษา” “มาตราฐานการศึกษา” “การประกันคุณภาพภายใน” “การประกันคุณภาพภายนอก” “ผู้สอน” “ครู” “ผู้บริหารสถานศึกษา” “ผู้บริหารการศึกษา” “บุคลากรทางการศึกษา” “กระทรวง” และ รัฐมนตรี
- หมวด 1 บททั่วไป : ความมุ่งหมายและหลักการ
3.1 หลักการ หรือปรัชญาการศึกษา โดยถือว่า การศึกษามีความสำคัญสูงสุดและมีบทบาท ต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ
กระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้อง การส่งเสริมศาสนา ศิลปะวัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้อันเป็นสากล รู้จักพึ่งตนเอง ใฝ่รู้ และเรียนรู้ ด้วยตนเอง
3.2 การจัดระบบ โครงสร้าง และ กระบวนการจัดการศึกษาไทย โดยยึดหลักการศึกษาตลอดชีวิต การมีส่วนร่วมของสังคม และ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง การจัดการศึกษา โดยยึดหลักการมีเอกภาพด้านนโยบายและหลากหลายในการปฏิบัติ การกระจายอำนาจ มาตรฐานการศึกษาและการประกันคุณภาพ การส่งเสริม วิชาชีพครู การระดมทรัพยากร ตลอดจนการมีส่วนร่วมของเอกชน
- หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา
จัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย โดยจัดให้คนที่มีความ บกพร่องทางร่างกาย สติปัญญาฯ เป็นพิเศษ
บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง มีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับ และให้ได้รับการศึกษาตามความพร้อมของครอบครัว รวมทั้งได้รับสิทธิการสนับสนุนจากรัฐ ในการอบรมและให้การศึกษาแก่บุตรฯ และลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษา
บุคคล ชุมชน สถาบันสังคม สถาบันศาสนา องค์กรเอกชน และสถานประกอบการขั้นพื้นฐาน รวมทั้งได้รับสิทธิได้รับการอุดหนุนจากรัฐในการจัดการศึกษาฯ แก่ผู้อยู่ในความดูแล และ ลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษา
- หมวด 3 ระบบการศึกษา
5.1 การจัดการศึกษา มี 3 รูปแบบ คือ
การศึกษาในระบบ : มีจุดมุ่งหมาย วิธีการ หลักสูตร ระยะเวลา การวัด และประเมินผลที่ ชัดเจนแน่นอน
การศึกษานอกระบบ : ยืดหยุ่นในจุดมุ่งหมาย วิธีการ และระยะเวลา ส่วนหลักสูตร การวัดและ ประเมินผลมีความชัดเจนแน่นอน
การศึกษาตามอัธยาศัย : จัดให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพความพร้อม และโอกาส
5.2 การศึกษาในระบบมี 2 ระดับ คือ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน : การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่า 12 ปี ก่อน ระดับอุดมศึกษา การแบ่งระดับและประเภทของการศึกษาขึ้นพื้นฐานให้เป็นไปตามกฏกระทรวง
การศึกษาระดับอุดมศึกษา : การศึกษาหลังการศึกษาขั้นพื้นฐานแบ่งเป็นระดับต่ำกว่าปริญญาตรีและระดับปริญญา
5.3 ให้มีการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่ 7 เข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จนย่างเข้าปีที่ 16 เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่ 9 ของการศึกษาขึ้นพื้นฐาน
5.4 สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน แบ่งออกเป็น สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียนศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน และการศึกษานอกโรงเรียน
สถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วย มหาวิทยาลัย สถาบัน วิทยาลัย หรือหน่วยงาน
สถานที่จัดการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพ : สถานศึกษา หรือสถานประกอบการ
- หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา
6.1 การจัดการศึกษาอบรม โดยยึดหลักผู้เรียนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่า ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดจึงต้องส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาตามธรรมชาติ และศักยภาพ
6.2 การจัดการศึกษาอบรม ต้องเน้นความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความ เหมาะสมในแต่ละระดับการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสังคม ประวัติศาสตร์ ทักษะเกี่ยวกับวิธีการทาง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศาสนา ศิลป วัฒนธรรม กีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น และภูมิปัญญาไทย ตลอดจนความรู้และทักษะด้านภาษา คณิตศาสตร์ และเน้นการใช้ภาษาไทย
6.3 การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การแก้ปัญหา การผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างสมดุล สนับสนุนให้ผู้สอนจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน เพื่อให้ผู้เรียนรู้ และจัดการเรียนรู้ให้เกิดได้ทุกเวลา และสถานที่
6.4 การประเมินผล และการจัดสรรโอกาสเข้าศึกษาต่อให้สถานศึกษาจัดประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน สังเกตพฤติกรรม การเรียน การร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่กันให้สถานศึกษาใช้วิธีการที่หลากหลายในการจัดสรรโอกาสเข้าศึกษาต่อ โดยคำนึงถึงผลการประเมิน ผู้เรียนมาใช้ประกอบด้วย
6.5 การจัดทำหลักสูตร ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ราชการส่วนกลาง เป็นผู้กำหนด และจัดทำ สาระหลักสูตรแกนกลาง และให้สถานศึกษาระดับขั้นพื้นฐานจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น
6.6 การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน (โรงเรียนชุมชน) โดยให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคลชุมชน สถาบัน สังคม สถาบันศาสนา องค์กรเอกชน องค์กรชุมชน สถานประกอบการ หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกันจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน
- หมวด 5 การบริหารและการจัดการศึกษา
การบริหารและการจัดการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนของรัฐ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และของเอกชน
7.1 ส่วนที่ 1 การบริหารและการจัดการศึกษา
7.1.1 โครงสร้างกระบวนการและการจัดองค์กรการบริหารและการจัดการศึกษา โดยการจัดให้มีกระทรวง ศึกษาธิการ ศาสนา และวัฒนธรรม มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับ ดูแล การจัดการศึกษา ศาสนา และศิลปะ วัฒนธรรม ทุกระดับและทุกประเภท โดยให้มีองค์กรหลักที่เป็นคณะบุคคลในรูปสภา หรือในรูปคณะกรรมการ จำนวน 4 องค์กร (1) สภาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมแห่งชาติ (2) คณะกรรมการการอุดมศึกษา (3) คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (4) คณะกรรมการการศาสนา และวัฒนธรรม
7.1.2 ในเขตพื้นที่ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยังไม่พร้อมที่จะจัดการศึกษาหรือยังจัดได้ไม่เพียงพอ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ มีอำนาจประกาศกำหนดเขตพื้นที่การศึกษา โดยการเสนอแนะของ สภาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมแห่งชาติ เพื่อการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษา ระดับต่ำกว่าปริญญา โดยมีคณะกรรมการและสำนักการศึกษาเขตพื้นที่ ร่วมกับสถานศึกษาในเขต พื้นที่ที่รับผิดชอบในการบริหารและการจัดการศึกษาภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวง หรือ หน่วยงานตัวแทนกระทรวงฯ ในระดับเหนือเขตพื้นที่ให้กระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา ไปยังสถานศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาของรัฐ โดยตรง ทั้งทางด้านวิชาการ งบประมาณ การเงินและทรัพย์สิน การบริหารงานบุคคล และ การบริหารทั่วไป
7.1.3 ให้สถานศึกษาอุดมศึกษามีฐานะเป็นนิติบุคคล ซึ่งอาจเป็นส่วนราชการ หรือหน่วยงานในกำกับของ รัฐภายใต้การกำกับดูแลของสภาสถานศึกษาแต่ละแห่ง
7.1.4 ให้มีการปฏิรูปโครงสร้าง กระบวนการ และการจัดองค์กร การบริหาร และการจัดการศึกษา ภายใน ระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติมีผลใช้บังคับ
7.2 ส่วนที่ 2 การบริหารและการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิในการจัดการศึกษาในระดับใดระดับหนึ่ง หรือทุกระดับ แต่ทั้งนี้ จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินความพร้อม และจะต้องสอดคล้องกับนโยบายและ ได้มาตรฐานการศึกษา รวมทั้งการเสนอแนะการจัดสรรงบประมาณของกระทรวงการศึกษา ศาสนา และ วัฒนธรรม
7.3 ส่วนที่ 3 การบริหารและการจัดการศึกษาของเอกชน
7.1.1 สถานศึกษาเอกชนเป็นนิติบุคคล โดยมีความเป็นอิสระในการบริหารและการจัดการศึกษาได้ทุกระดับ ทุกประเภทตามที่กฏหมายกำหนด โดยมีการกำกับ ติดตามการประเมินคุณภาพ และมาตรฐาน การศึกษาจากรัฐ
7.1.2 รัฐต้องกำหนดนโยบายและมาตรการที่ชัดเจนเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของเอกชนในด้านการศึกษาใน ระดับชาติ และในระดับเขตพื้นที่การศึกษา โดยรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนและประชาชน ประกอบการพิจารณา
7.1.3 รัฐต้องให้การสนับสนุนด้านเงินอุดหนุน การลดหย่อนหรือการยกเว้นภาษีและสิทธิประโยชน์อื่นที่เป็น ประโยชน์ในการศึกษา
- หมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา
ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งภายในและภายนอก เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ และถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่ง ของกระบวนการบริหารการศึกษา นอกจากนี้สถานศึกษาจะต้องให้ความร่วมมือในการเตรียมเอกสาร หลักฐานต่างๆ เพื่อการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษา
ให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา มีฐานะเป็นองค์การมหาชนทำหน้าที่ พัฒนาเกณฑ์ วิธีการประกันคุณภาพภายนอก และทำการประเมินผลการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
- หมวด 6 ทวิ ครูและบุคลากรทางการศึกษา
9.1 จัดตั้งกองทุนสำหรับการพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนส่งเสริมให้มีระบบกระบวนการผลิต การพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
9.2 ให้มีกองทุนส่งเสริมและพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา เพื่ออุดหนุนผลงาน และเป็นรางวัลเชิดชูเกียรติ ตลอดจนระดมทรัพยากรบุคคลในชุมชนให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
9.3 ให้มีองค์กรวิชาชีพครูและผู้บริหารการศึกษามีฐานะเป็นองค์กรอิสระภายใต้การบริหารของสภาวิชาชีพในการกำกับของกระทรวงศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
9.4 ให้มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู โดยให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของ
หน่วยงานทางการศึกษาในระดับสถานศึกษา และระดับเขตพื้นที่การศึกษาเป็นข้าราชการครู
9.5 ให้มีกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนของข้าราชการ
- หมวด 7 ทรัพยกรและการลงทุนเพื่อการศึกษา
10.1 ให้มีการระดมทรัพยากรและการลงทุนด้านงานงบประมาณ การเงิน และทรัพย์สินทั้งหมดของรัฐและ เอกชนเพื่อการศึกษา การจัดเก็บภาษีเพื่อการศึกษา ตลอดจนส่งเสริมและให้แรงจูงใจในการระดม ทรัพยากรดังกล่าวโดยการสนันสนุน การอุดหนุนและใช้มาตรการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษี
10.2 การจัดสรรงบประมาณแผ่นดินเพื่อการศึกษา
การจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการศึกษาของรัฐ กองทุนกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำให้สถานศึกษาเอกชน และกองทุนกู้ยืมให้แก่ผู้เรียน
สถานศึกษาของรัฐมีอิสระในการบริหารงบประมาณ
จัดสรรเงินอุดหนุนเป็นค่าใช้จ่ายรายบุคคลสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งของรัฐและเอกชน เงินอุดหนุนทั่วไปให้สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคล และเงินอุดหนุน การศึกษาที่จัดโดยครอบครัวชุมชนและองค์กรต่าง ๆ
จัดสรรงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษาอื่นเป็นพิเศษสำหรับบุคคลพิการและด้อยโอกาส
10.3 ให้มีระบบการตรวจสอบ ติดตามและประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการใช้จ่ายงบประมาณ การจัดการศึกษา
- หมวด 7 ทวิ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
11.1 รัฐต้องจัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จำเป็น ตลอดจนให้มีเงินอุดหนุน การผลิต และให้มีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิต และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยเปิดให้มีการ แข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม
11.2 พัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และส่งเสริมให้มีการวิจัยและ พัฒนา ตลอดจนการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
11.3 จัดให้เด็กไทยได้พัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้
11.4 จัดให้มีหน่วยงานกลาง ทำหน้าที่กำหนดนโยบายแผน ส่งเสริมและประสานงานการวิจัย การพัฒนา การใช้ รวมทั้งการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของการผลิตและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
- บทเฉพาะกาล
12.1 ยกเว้นกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศและคำสั่งเกี่ยวกับการศึกษา ศาสนา ศิลปะวัฒนธรรม ให้มีผลบังคับใช้ต่อไปอีกไม่เกิน 5 ปี กระทรวง ทบวง กรม หน่วยงานการศึกษาและสถานศึกษาให้มีฐานะและอำนาจหน้าที่เช่นเดิม จนกว่าจะได้มีการจัดระบบบริหารและการจัดการศึกษาใหม่ แต่ต้องไม่เกิน 3 ปี
12.2 จัดการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี ภายใน 5 ปี
แบ่งระดับและประเภทการศึกษาขั้นพื้นฐานภายใน 1 ปี
จัดให้มีการประเมินผลภายนอกครั้งแรกของสถานศึกษาทุกแห่งภายใน 7 ปี
12.3 จัดการระบบบริหารและการจัดการศึกษา หมวด 5 และหมวด 6 ทวิ เกี่ยวกับครูและบุคลากร ทางการศึกษา ตลอดจนการแก้ไขปรับปรุง พ.ร.บ. ครูและ พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการครู ภายใน 3 ปี
12.4 จัดตั้งสำนักงานปฏิรูปการศึกษา ซึ่งเป็นองค์การมหาชนเฉพาะกิจ ที่จัดตั้งขึ้นใน พ.ร.บ. ที่ออกตาม ความในกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชน เพื่อเสนอโครงสร้าง ตามหมวด 5 จัดระบบครูตามหมวด 6 ทวิ และการลงทุน เพื่อการศึกษา ตามหมวด 7 ตลอดจนเสนอกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังกล่าว
คณะกรรมการบริหารสำนักงานปฏิรูปการศึกษา มีจำนวน 9 คน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจาก ผู้เชี่ยวชาญ ด้านการบริหารการศึกษา การบริหารรัฐกิจ การบริหารงานบุคคลการงบประมาณ การเงินและการคลัง กฎหมายมหาชนและกฎหมายการศึกษา โดยได้รับการเสนอจากคณะ กรรมการสรรหา และยุบเลิกตำแหน่งและสำนักงานปฏิรูปการศึกษาในเวลา 3 ปี