แนวคิดในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อเชื่อมโยงกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยมีแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
- แนวคิดของ บลูม (Bloom’s Taxonomy)
- สี่เสาหลักทางการศึกษา (Four Pillars of Education)
- หลักการพัฒนาทักษะ 4 H (Head , Heart , Hand , Health) พระบรมราโชบา
- ด้านการศึกษาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัววชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
แนวคิดของ บลูม (Bloom’s Taxonomy)
บลูม ( Benjamin S. Bloom.1976) นักการศึกษาชาวอเมริกัน เชื่อว่า การเรียนการสอน ที่จะประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพนั้น ผู้สอนจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้สอน กำหนดและจัดกิจกรรมการเรียน รวมทั้งวัดประเมินผลได้ถูกต้อง โดยได้จำแนกจุดมุ่งหมายทางการศึกษา ที่เรียกว่า Taxonomy of Educational Objectives (อติญาณ์ ศรเกษตริน. 2543 : 72-74 ; อ้างอิงจาก บุญชม ศรีสะอาด. 2537 ; Bloom. 1976 : 18) ออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย ด้านจิตพิสัย และด้านทักษะพิสัย
สี่เสาหลักของการศึกษา (Four Pillars of Education)
องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ได้ศึกษา แนวทางการจัดการศึกษาที่เหมาะสมในศตวรรษที่ 21 โดยเสนอสี่เสาหลักของการศึกษา (Four Pillars of Education) ประกอบด้วยการเรียนรู้ 4 ลักษณะ ได้แก่ การเรียนเพื่อรู้ (Learning to know) การเรียนรู้เพื่อ ปฏิบัติได้จริง (Learning to do) การเรียนรู้เพ่ือที่จะอยู่ร่วมกัน และการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อ่ืน (Learning to Live together) และการเรียนรู้เพื่อชีวิต (Learning to be)
หลัก 4 H (Head Heart Hand และ Health)
หลัก 4 H เป็นการมุ่งเน้นพัฒนาทักษะของผู้เรียน ให้เกิดการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง มีประสบการณ์ตรง คิดวิเคราะห์ ทางานเป็นทีม และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีความสุขจากกิจกรรมสร้างสรรค์ ที่หลากหลาย ดังนี้
กิจกรรมพัฒนาสมอง (Head) หมายถึง กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิด เพื่อให้ ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า ตัดสินใจ แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
กิจกรรมพัฒนาจิตใจ (Heart) หมายถึง กิจกรรมส่งเสริม พัฒนา และปลูกฝังค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม การทาประโยชน์เพ่ือสังคม เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์จนเป็นลักษณะนิสัย และมีจิตสานึกที่ดี ต่อตนเองและส่วนรวม
กิจกรรมพัฒนาทักษะการปฏิบัติ (Hand) หมายถึง กิจกรรมสร้างเสริมทักษะการทางาน ทักษะทางอาชีพที่หลากหลาย เพ่ือให้ผู้เรียนค้นพบความสามารถ ความถนัด และศักยภาพของตนเอง
กิจกรรมพัฒนาสุขภาพ (Health) หมายถึง กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะเพื่อให้ผู้เรียน มีสมรรถนะทางกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง มีเจตคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพ และมีทักษะปฏิบัติด้านสุขภาพจนเป็นนิสัย
พระบรมราโชบายด้านการศึกษา ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัววชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีกระแสพระราชดำรัสกับประธานองคมนตรี และคณะองคมนตรี ให้ร่วมกันสร้างคนดีให้แก่บ้านเมือง โดยจัดการศึกษาเพื่อมุ่งเน้นสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน 4 ด้าน ดังนี้
1. มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง หมายถึง การจัดการศึกษาต้องมุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจที่ดีต่อชาติบ้านเมือง ยึดมั่นในศาสนา มั่นคงในสถาบันพระมหากษัตริย์ และมีความเอื้ออาทร ต่อครอบครัวและชุมชนของตน
2. มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคงมีคุณธรรม หมายถึง การจัดการศึกษาต้องมุ่งให้ผู้เรียน รู้จักแยกแยะสิ่งที่ผิด-ที่ถูก สิ่งชั่ว-สิ่งดี เพื่อปฏิบัติแต่สิ่งที่ชอบที่ดีงาม ปฏิเสธสิ่งที่ผิดที่ชั่ว เพื่อสร้างคนดี ให้แก่บ้านเมือง
3. มีงานทำมีอาชีพ หมายถึง การจัดการศึกษาต้องมุ่งให้ผู้เรียน เป็นเด็กรักงาน สู้งาน ทำงานจนสำเร็จ อบรมให้เรียนรู้การทำงาน ให้สามารถเลี้ยงตัวและเลี้ยงครอบครัวได้
4. เป็นพลเมืองดี หมายถึง การจัดการศึกษาต้องมุ่งให้ผู้เรียน มีหน้าที่เป็นพลเมืองดี สถานศึกษาและสถานประกอบการต้องส่งเสริมให้ทุกคนมีโอกาสทำหน้าที่พลเมืองดี การเป็นพลเมืองดี หมายถึงการมีน้ำใจ มีความเอื้ออาทร ทำงานอาสาสมัคร งานบำเพ็ญประโยชน์ “เห็นอะไรที่จะทำเพื่อ บ้านเมืองได้ก็ต้องทำ”
อ้างอิง : แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้