คู่มือการจัดกิจกรรมส่งเสริมภาษาด้านการอ่าน กิจกรรมฝึกเด็กบกพร่อง ป.1-6 เอกสารพัฒนานักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้
นักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้ อาจจำแนกเป็นประเภทต่าง ๆ ตามลักษณะของความบกพร่องในการเรียนของเด็กได้ดังนี้ นักเรียนที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ อาจมีสาเหตุมาจากองค์ประกอบหลายประการเด็กบางคนอาจขาดเรียนบ่อย เพราะต้องช่วยบิดามารดาในการประกอบอาชีพบางคนต้องหาเลี้ยงครอบครัว บางคนต้องเดินทางมาไกล จึงทำให้ไม่อยากมาโรงเรียน บางคนพูดภาษาท้องถิ่นมาแต่กำเนิด เมื่อมาเรียนภาษาไทยกลางที่โรงเรียน จึงทำให้เด็กเรียนได้ไม่ดี เพราะอิทธิพลของภาษาถิ่นที่มีโครงสร้างของเสียงพูด คำและประโยคต่างกัน เด็กที่ขาดแรงจูงใจในการเรียน เกียจคร้านทำให้อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ เด็กเหล่านี้ไม่จัดเป็นเด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ตามนิยามของการศึกษาพิเศษ เพราะถ้าแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้ลุล่วงไป เด็กก็สามารถอ่านออกเขียนได้ เด็กที่มีปัญหาในการอ่าน อาจมีพฤติกรรมดังนี้
(1) จำตัวอักษรไม่ได้ ทำให้อ่านเป็นคำไม่ได้
(2) จำตัวอักษรได้บ้าง แต่อ่านเป็นคำไม่ได้
(3) ความสามารถในการอ่านต่ำกว่านักเรียนอื่นในชั้นเรียนเดียวกัน
(4) ระดับสติปัญญาของเด็กอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยหรือสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ย เมื่อวัดโดยใช้แบบทดสอบเชาว์ปัญญาที่เชื่อถือได้
(5) เด็กบางคนอาจมีความไวในการฟัง
(6) เด็กบางคนอาจมีความไวในการใช้สายตา
(7) พูดไม่เป็นประโยค
(8) เด็กสามารถเข้าใจภาษาได้ดี หากให้เด็กฟังหรือมีคนอ่านหนังสือให้ฟัง หรือฟังจากเทป แต่ถ้าให้อ่านเองจะอ่านไม่ได้ อ่านไม่เข้าใจหรือจับใจความไม่ได้
(9) อ่านคำโดยสลับอักษร เช่น กบ เป็น บก
(10) ไม่เข้าใจว่าตัวอักษรใดมาก่อน–หลัง ตัวอักษรใดอยู่ทางซ้ายหรือขวา
(11) ไม่สามารถแยกเสียงสระในคำได้ เช่น ระหว่าง น้ำลง แมลง เด็กมักอ่านคำว่า แมลง ว่า แม-ลง หรือ มะ-แลง-ลง เป็นต้น
ขอบคุณที่มา : http://www.aya1.go.th/LD/LD-03.doc
เนื่องจากนักเรียนในห้องเรียนมีความบกพร่องด้านการเรียนรู้ได้ช้ากว่าเพื่อนร่วมห้อง จึงอยากพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ให้กับนักเรียน
ขอคุณมากค่ะ ที่โรงเรียนมีนักเรียนเรียนรวม