วันจันทร์, 11 ธันวาคม 2566

องค์ประกอบของจริยธรรม

องค์ประกอบของจริยธรรม กระทรวงศึกษาธิการได้สรุปองค์ประกอบของจริยธรรมไว้ดังนี้ คือ

1. ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ หมายถึง ความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะทำการปฏิบัติ หน้าที่ที่ได้รับมอบหมายด้วยความมานะพยายาม ไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย ทั้งยังมี ความละเอียดรอบคอบ เพื่อให้ผลการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่นั้นบรรลุสำเร็จตามความ มุ่งหมาย โดยมีความพยายามที่จะปรับปรุง และแก้ปัญหาในการปฏิบัติหน้าที่ไห้ดีขึ้น

2. ความซื่อสัตย์ หมายถึง การประพฤติปฏิบัติอย่างเหมาะสม และครงต่อความ เป็นจริง ประพฤติอย่างตรงไปตรงมาทั้งกาย วาจา ใจ ต่อตนเองและผู้อื่น

3. ความมีเหตุผล หมายถึง ความสามารถในการใช้ปัญญาในการประพฤติ ปฏิบัติ รู้จักไตร่ตรอง ไม่หลงงมงาย

4. ความกตัญญูกตเวที ความกตัญญู หมายถึง ความรู้สึกสำนึกในการอุปการ คุณที่ผู้อื่นมีต่อเรา กตเวที หมายถึง การแสดงออกและการตอบแทนบุญคุณ ดังนั้น ความกตัญญูกดเวที จึงหมายถึง ความรู้บุญคุณและการตอบแทนต่อผู้อื่นและสิ่งที่มี บุญคุณ

5. การรักษาระเบียบวินัย หมายถึง การควบคุมการประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้อง และเหมาะสมกับจรรยามารยาท ข้อบังคับ กฎหมาย และศีลธรรม ช่วยให้สังคมเป็น ระเบียบเรียบร้อย และเกิดความสุขความเจริญในประเทศชาติ

6. ความเสียสละ หมายถึง การละความเห็นแก่ตัว การให้ปั้นกับคนที่ควรให้ ตัวยกำลังกาย กำลังทรัพย์ กำลังปัญญา รวมทั้งการรู้จักสลัดทิ้งอารมณ์ร้ายในตัวเอง

7. ความสามัคคี หมายถึง การที่ทุกคนมีความพร้อมเพรียงกันทั้งกายใจ ความคิด เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ร่วมมือกันกระทำ กิจการให้สำเร็จลุล่วงอย่างดี

8. การประหยัด หมายถึง การใช้สิ่งทั้งหลายพอเหมาะพอควรให้ได้ประโยชน์ มากที่สุด ไม่ยอมให้มีส่วนเกินมากนัก

9. ความยุติธรรม หมายถึง รปฏิบัติด้วยความเที่ยงตรงสอดคลัองกับความ เป็นจริงและเหตุผล ไม่มีความลำเอียง

10. ความอุดสาหะ หมายถึง ความพยายามอย่างเข้มแข็งเพื่อให้เกิดความลำเร็จ ในการงาน

11.ความเมตตากรุณา หมายถึง ความรักใคร่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นเป็นสุข ความ สงสารคือ จะช่วยให้ผู้อื่นพันทุกข์

อ้างอิง : จริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชพีครู Moral and Ethics in Teaching Profession CU 503 ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง รศ. รัตนวดี โชติกพนิช

ให้คะแนนบทความนี้
[รวม: 1 เฉลี่ย: 5]