จรรยาบรรณ (Code of Conduct) (Professional Ethics) หมายถึง ประมวลกฎเกณฑ์ความประพฤติหรือประมวลมารยาท ของผู้ประกอบอาชีพนั้น ๆต้องเป็นเอกลักษณ์ทางวิชาชีพ ใช้ความรู้ มีองค์กร หรือสมาคมควบคุม
- ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้
- หลักความประพฤติที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้มีคุณธรรมและจริยธรรมของบุคคลในแต่ละกลุ่มวิชาชีพ
ศีลธรรม (Moral)
1. ความประพฤติที่ดีที่ชอบ หรือธรรมในระดับศีล
2. หลักความประพฤติที่ดีสำหรับบุคคลพึงปฏิบัติ
คุณธรรม (Virtue) แนวความคิดที่ดีเป็นตัวบังคับให้ประพฤติดี
1. สภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจ
2. คุณธรรม คือจริยธรรมที่แยกเป็นรายละเอียดแต่ละประเภท หากประพฤติปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ก็จะเป็นสภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจของผู้นั้น
ธรรมาภิบาล (Good Governance)
1. การจัดการปกครอง การบริหารปกครอง การบริหารกิจการบ้านเมือง การควบคุมดูแลกิจการ การกำกับดูแลที่ดี อันเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ (Process) และระบบ (System) ซึ่งองค์การหรือสังคมได้มีการปฏิบัติหรือดำเนินการ (Operate)
2. มักครอบคลุมประเด็น ดังนี้
– การมีส่วนร่วมของประชาชน(Participation)
– นิติธรรม (Rule of law)
– ความโปร่งใส (Transparency)
– การตอบสนอง (Responsiveness)
– การแสวงหาฉันทามติ (Consensus oriented)
– ความถูกต้อง ความเสมอภาค ยุติธรรม เที่ยงธรรม (Equity)
– ประสิทธิผลและประสิทธิภาพ (Effectiveness & Efficiency)
– ภาระรับผิดชอบ (Accountability)
รองศาสตราจารย์ ดอกเตอร์ ทศพร ศิริสัมพันธ์
http://www.sti.or.th/uploads/pdf/cv/board/20.pdf