การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาถูกพัฒนาขึ้น เพื่อให้เกิดความมั่นใจแก่ทุกฝ่ายว่าการจัดการศึกษาทุกระดับมีคุณภาพ และจะคงรักษาไว้ซึ่งมาตรฐาน กระทรวงศึกษาธิการจึงให้มีการปฏิรูป ระบบการประเมินและการประกันคุณภาพการศึกษา โดยมีนโยบาย ปรับปรุงมาตรฐานและตัวชี้วัดให้มีจํานวนน้อยลง กระชับและสะท้อนถึง คุณภาพอย่างแท้จริงเน้นการประเมินตามสภาพจริง ไม่ยุ่งยาก สร้างมาตรฐาน ระบบการประเมิน เพื่อลดภาระการจัดเก็บข้อมูล ลดการจัดทําเอกสาร ที่ใช้ในการประเมิน รวมทั้งพัฒนาผู้ประเมินภายในให้มีมาตรฐาน มีความน่าเชื่อถือ สามารถให้คําชี้แนะและให้คําปรึกษาแก่สถานศึกษาได้
มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ปรับใหม่จึงมีจํานวนไม่มาก แนวทางการประเมินคุณภาพของสถานศึกษาจะเน้นการเก็บข้อมูล ในเชิงคุณภาพตามบริบทของสถานศึกษา ไม่เพิ่มภาระการจัดทําเอกสาร ให้สถานศึกษารวมทั้งพัฒนาผู้ประเมินภายในให้มีมาตรฐาน มีความน่าเชื่อถือ สามารถให้คําชี้แนะและให้คําปรึกษาแก่สถานศึกษาได้ปรับกระบวนทัศน์ ในการประเมินที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนา(evaluation and development) บนพื้นฐานบริบทของสถานศึกษา มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาทุนมนุษย์และเป็นเป้าหมายสําคัญที่สุด ที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายทุกคนในสถานศึกษาต้องรับรู้ และปฏิบัติงาน ในหน้าที่ที่รับผิดชอบให้บรรลุถึงเป้าหมายคือมาตรฐานที่สถานศึกษา กําหนดและร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษาที่เกิดขึ้น (accountability)
เอกสารเล่มนี้ จัดทําขึ้นตามกรอบกฎกระทรวงการ ประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑ นโยบายปฏิรูประบบ การประเมินและประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา และประกาศ มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ พ.ศ. ๒๕๖๑ สําหรับ ให้สถานศึกษาใช้เป็นแนวทางดําเนินงาน เพื่อการประกันคุณภาพภายใน ของสถานศึกษา และเตรียมการสําหรับการประเมินคุณภาพภายนอก ซึ่งจะทําให้เกิดความมั่นใจแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายว่าการจัดการศึกษา ของสถานศึกษามีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และคงรักษาไว้ซึ่งมาตรฐาน จากการดําเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
ที่มา : https://www.obec.go.th/