
การประเมินผลการปฏิบัติราชการ (การเลื่อนเงินเดือน) ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2)
การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการ
1. วงเงินที่ใช้เลื่อนขั้นเงินเดือน
รอบที่ 1 ( 1 ต.ค. – 31 มี.ค. ) ภายในวงเงินร้อยละ 3 ของเงินเดือนข้าราชการ ณ วันที่ 1 มี.ค.
รอบที่ 2 ( 1 เม.ย. – 30 ก.ย. ) ภายในวงเงินร้อยละ 3 ของเงินเดือนข้าราชการ ณ วันที่ 1 ก.ย.
2. เลื่อนให้ข้าราชการในแต่ละรอบการประเมิน เลื่อนเงินเดือนได้ไม่เกินร้อยละ 6 ของ ฐานในการคำนวณ ( เลื่อนเป็น จำนวน % ของค่ากลางตอนบน / ค่ากลางตอนล่าง ตามที่ ก.พ. กำหนด )
หลักในการประเมิน
1. มีความยืดหยุ่นในการเลือกวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับลักษณะงาน
2. โปร่งใส เป็นธรรม ตรวจสอบได้
วิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการ
1.ผลสัมฤทธิ์ของงาน ประเมินจาก ปริมาณผลงาน คุณภาพผลงาน ความรวดเร็วหรือตรงเวลาที่กำหนด ประหยัด ( เงิน / เวลา ) และคุ้มค่าการใช้ทรัพยากร ผู้ประเมินและผู้รับการประเมิน กำหนดข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับตัวชี้วัดผลงานและค่าเป้าหมายรายบุคคล ตามแบบประเมินผลสัมฤทธิ์ของงาน ( เอกสารหมายเลข 1 )
การกำหนดค่าเป้าหมาย แบ่งเป็น 5 ระดับ คือ
ระดับ 1 ค่าเป้าหมายต่ำสุดที่ได้รับ
ระดับ 2 ค่าเป้าหมายในระดับต่ำกว่ามาตรฐาน
ระดับ 3 ค่าเป้าหมายที่เป็นมาตรฐานโดยทั่วไป
ระดับ 4 ค่าเป้าหมายที่มีความยากปานกลาง
ระดับ 5 ค่าเป้าหมายในระดับท้าทาย มีความยากค่อนข้างมาก โอกาสสำเร็จ < 50% ควรตั้งค่าเป้าหมายให้สอดคล้องกับผลงานที่คาดหวังในช่วงระยะเวลาของการประเมิน
ตัวชี้วัดที่ใช้ในการประเมินผลรายบุคคลในแต่ละรอบการประเมินควรมีจำนวน 5-6 ตัว และเป็นตัวชี้วัด ที่สำคัญ ตัวชี้วัดแต่ละตัว ควรมีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 10% ทุกตัวรวมกันเท่ากับ 100 % และควรคำนึงถึงความยากง่ายของกิจกรรม
2. พฤติกรรมการปฏิบัติราชการประเมินจากสมรรถนะหลักตามที่ ก.พ. กำหนด 5 ตัว คือ
- การมุ่งผลสัมฤทธิ์
- บริการที่ดี
- การสั่งสมความเชี่ยวชาญในอาชีพ
- การยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมและจริยธรรม
- การทำงานเป็นทีม
ประเมินจากสมรรถนะเฉพาะตามลักษณะงานที่ปฏิบัติ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 กำหนด 3 ตัว คือ
- การคิดวิเคราะห์
- การดำเนินการเชิงรุก
- การตรวจสอบความถูกต้องตามกระบวนงาน
ดังรายละเอียดตามเอกสารหมายเลข 2, 3 และ 4
การสรุปการประเมินผลการปฏิบัติราชการ
เมื่อสรุปได้ผลคะแนนรวมแล้ว ให้แบ่งระดับผลการประเมินในภาพรวมเป็น 5 ระดับ
ตามแบบรายงานเอกสารหมายเลข 5 ดังนี้
ระดับการประเมิน คะแนน
ดีเด่น 90 – 100
ดีมาก 80 – 89
ดี 70 – 79
พอใช้ 60 – 69
ต้องปรับปรุง ต่ำกว่า 60