หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ใหม่ล่าสุด
(ส่งพร้อมหนังสือสํานักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ ๐๒๐๖.๗/ว90 ลงวันที่ 10 ตุลาคม ๒๕๖๑)
เพื่อให้การประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นไปโดย โปร่งใส เป็นธรรม และตรวจสอบได้
อาศัยอํานาจตามมาตรา ๑๙ (๔) และ ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษาพ.ศ. ๒๕๕๗ ประกอบกับข้อ ๗ ของคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๖/๒๕๖๐ ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๐ ก.ค.ศ. จึงกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงาน ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ดังนี้
๑. หลักเกณฑ์และวิธีการนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๑ เป็นต้นไป
๒. ให้ผู้บังคับบัญชาประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยยึดหลักการปฏิบัติตนที่เหมาะสมและปฏิบัติราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
๓. การประเมินผลการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ ผู้บังคับบัญชาใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงาน โดยนําผลการประเมินไปใช้ เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
(๑) การเลื่อนเงินเดือน และค่าตอบแทนอื่น ๆ
(๒) การพัฒนา เสริมสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงาน
(๓) การให้รางวัลจูงใจ
(๔) การให้ออกจากราชการ
(๕) การบริหารงานบุคคลเรื่องอื่น ๆ
๔. การประเมินผลการปฏิบัติงานให้ดําเนินการประเมินปีละ ๒ ครั้ง ตามปีงบประมาณ ดังนี้
ครั้งที่ ๑ ประเมินผลการปฏิบัติงาน ระหว่างวันที่ ๑ ตุลาคม ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคมของปีถัดไปครั้งที่ ๒ ประเมินผลการปฏิบัติงาน ระหว่างวันที่ ๑ เมษายน ถึงวันที่ ๓๐ กันยายนของปีเดียวกัน
๕. องค์ประกอบการประเมินผลการปฏิบัติงาน มี ๒ องค์ประกอบ คะแนนรวม ๑๐๐ คะแนน ดังนี้
องค์ประกอบที่ ๑ การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงาน คะแนน ๗๐ คะแนน
องค์ประกอบที่ ๒ การประเมินการปฏิบัติตนในการรักษาวินัย คุณธรรม จริยธรรม และ จรรยาบรรณวิชาชีพ คะแนน ๓๐ คะแนน
ระดับผลการประเมินมี ๕ ระดับ ดังนี้
ดีเด่น (ร้อยละ ๙๐.๐๐ ขึ้นไป)
ดีมาก (ร้อยละ ๘๐.๐๐ – ๘๔.๙๔)
ดี (ร้อยละ ๗๐.๐๐ – ๗๔.๔๔)
พอใช้ (ร้อยละ ๕๐.๐๐ – ๖๙.๙๔)
ปรับปรุง (ร้อยละ ๕๙.๙๙ ลงมา)
๖. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานให้ใช้ตามแบบที่ ก.ค.ศ. กําหนด
๗. ให้มีการกําหนดข้อตกลงเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างผู้บังคับบัญชาและ ผู้รับการประเมิน ทั้งนี้ ให้พิจารณาจากข้อตกลงของส่วนราชการหรือสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือหน่วยงานการศึกษา มาตรฐานและภาระงานขั้นต่ําที่ได้มีการจัดทําและกําหนดไว้
๘. การประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ดําเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้บังคับบัญชาชี้แจงทําความเข้าใจกับผู้รับการประเมินเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการฯ นี้ ก่อนเริ่มรอบการประเมินหรือในช่วงเริ่มรอบการประเมิน
(๒) ผู้บังคับบัญชาชี้แจงแนวทางการดําเนินการประเมินตามข้อตกลงและกําหนดปฏิทิน การประเมิน ให้ทราบโดยทั่วกัน
(๓) ผู้รับการประเมิน ประเมินตนเองตามแบบที่ ก.ค.ศ. กําหนด โดยประเมินจากเอกสาร หลักฐานที่มีอยู่จริง แล้วเสนอต่อผู้บังคับบัญชาพิจารณา
(๔) ผู้บังคับบัญชาประเมินผลการปฏิบัติงานและบันทึกผลการประเมินไว้
(๕) ในระหว่างรอบการประเมินให้ผู้บังคับบัญชาให้คําปรึกษา แนะนําผู้รับการประเมิน เพื่อปรับปรุง พัฒนา เสริมสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ให้ผลการปฏิบัติงานประสบ ผลสําเร็จ ตามข้อตกลงก่อนเริ่มรอบการประเมินหรือในช่วงเริ่มรอบการประเมิน
(๖) ผู้บังคับบัญชาแจ้งผลการประเมินพร้อมความเห็นให้ผู้รับการประเมินทราบ
(๗) ผู้บังคับบัญชาประกาศรายชื่อข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้มีผลการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับดีเด่นและดีมากในที่เปิดเผยให้ทราบโดยทั่วกัน เพื่อเป็นการยกย่องชมเชยและสร้างแรงจูงใจ ให้พัฒนาผลการปฏิบัติงานในรอบการประเมินต่อไปให้ดียิ่งขึ้น
สําหรับแบบประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีการจัดเก็บรักษาไว้อย่างน้อยสองรอบการประเมิน
๑๐. การนําผลการประเมินตามหลักเกณฑ์และวิธีการฯ นี้ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนา เสริมสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงาน การเลื่อนเงินเดือน การให้รางวัลจูงใจ การให้ ออกจากราชการ และการบริหารงานบุคคลเรื่องอื่น ๆ ให้หน่วยงานที่จะนําผลการประเมินไปใช้ กําหนด รายละเอียดให้สอดคล้องกับกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์และวิธีการว่าด้วยการนั้น
๑๑. กรณีที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการฯ นี้ ให้เสนอ ก.ค.ศ. พิจารณา
ตัวอย่าง
หนังสือแจ้งเวียนหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลกรทางการศึกษา คลิกที่นี่
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงาน คลิกที่นี่
สิ่งที่ส่งมาด้วย 2 คำชี้แจงและแบบประเมินผลการปฏิบัติ คลิกที่นี่
การประเมินผลการปฏิบัติราชการ (การเลื่อนเงินเดือน)
การประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครู