วันอาทิตย์, 24 กันยายน 2566

การนิเทศการศึกษา

1. ศึกษาระบบการนิเทศงานวิชาการและการเรียนการสอนภายในสถานศึกษา
– ร่วมเป็นคณะกรรมการนิเทศภายในสถานศึกษา
– ร่วมวางแผนนิเทศภายในสถานศึกษาโดยใช้กิจกรรมที่หลากหลายและเหมาะสม กับสถานศึกษา
– จัดทําเครื่องมือนิเทศงานวิชาการและการเรียนการสอน

2. ดําเนินการนิเทศงานวิชาการและการเรียนการสอนตามที่ได้รับมอบหมาย
– สร้างความตระหนักความรู้ความเข้าใจกับผู้เกี่ยวข้อง
– กําหนดปฏิทินการนิเทศ
– ดําเนินการตามแผนนิเทศ

3. ประเมินผลระบบและกระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษา
– ตั้งคณะกรรมการประเมินผลการนิเทศ
– จัดทําเครื่องมือประเมินผลการนิเทศ
– ประเมินผลการนิเทศอย่างต่อเนื่อง

4. ประสานงานกับเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อพัฒนาระบบและกระบวนการนิเทศงานวิชาการ และการเรียนการสอนของสถานศึกษา
– ขอความร่วมมือเป็นวิทยากร พัฒนาผู้นิเทศเกี่ยวกับความรู้และทักษะการนิเทศ งานวิชาการ การเรียนการสอนและการสร้างเครื่องมือนิเทศ
– ขอความร่วมมือประเมินระบบและกระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษา

5. แลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์การจัดระบบการนิเทศภายในกับสถานศึกษาอื่น หรือเครือข่ายการนิเทศภายในเขตพื้นที่การศึกษา
– รวบรวมข้อมูลสถานศึกษาที่จัดการนิเทศภายในสถานศึกษาดีเด่น
– ศึกษาดูงานสถานศึกษาที่จัดการนิเทศภายในสถานศึกษาดีเด่น
– พัฒนาระบบการนิเทศภายในสถานศึกษา โดยหัวหน้ากลุ่มสาระและผู้บริหาร แบบกัลยาณมิตรหรือระหว่างครูผู้สอน ศึกษาสถานการณ์โลกและสังคมที่เปลี่ยนแปลง เพื่อเชื่อมโยง กับองค์ความรู้และประสบการณ์เดิม
– ปรับปรุง พัฒนาองค์ความรู้ใหม่อย่างต่อเนื่องจนเกิดผลดีต่อการจัดประสบการณ์ เรียนรู้
– แลกเปลี่ยนประสบการเรียนรู้ระหว่างครู กลุ่มสาระ สถานศึกษาหรือสถานบันอื่น ๆ

อ้างอิง : คู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการครู

 

ให้คะแนนบทความนี้
[รวม: 0 เฉลี่ย: 0]

สมาชิกแสดงความคิดเห็น