วันอังคาร, 28 มีนาคม 2566

คุณลักษณะที่ดีของครู

คุณลักษณะที่ดีของครู

คุณลักษณะของครูที่ดีนั้นมีผู้กล่าวไว้หลายท่าน ในหลายโอกาส พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระราชดํารัสพระราชทานแก่ครูอาวุโส ประจําปี พ.ศ. 2522 ซึ่งมี ข้อความ ที่แสดงถึงคุณลักษณะที่ดีของครูที่ดีไว้ดังนี้

“ครูที่แท้นั้นเป็นผู้กระทําแต่ความดี คือต้องขยันและอุตสาหะพากเพียร เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และ เสียสละ ต้องหนักแน่น อดกลั้น และอดทน ต้องรักษาวินัย สํารวมระวังความประพฤติและ ปฏิบัติตนให้ อยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดีงาม ต้องปลีกตัวปลีกใจจากความสะดวกสบายและความสนุกรื่นเริงที่ไม่ สมควรแก่เกียรติภูมิของตน ต้องมั่นใจให้มั่นคงและแน่วแน่ ต้องซื่อสัตย์ รักษา ความจริงใจ ต้องเมตตา หวังดี ต้องวางใจเป็นกลาง ไม่ปล่อยไปตามอํานาจอคติ ต้องอบรมปัญญา ให้เพิ่มพูนสมบูรณ์ขึ้น ทั้งในด้าน วิทยาการ และความฉลาด รอบรู้ในเหตุและผล” (คุรุสภา, 2524 : 3)

พระพุทธทาสภิกขุ ( 2530 : 1-27 ) ได้บรรยายเรื่องธรรมะสําหรับครูระหว่าง วันที่ 4-9 กันยายน 2527 ณ สวนโมกขพลาราม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งมีความบางตอนแสดงถึง คุณลักษณะของครู ที่ดีไว้ดังนี้

“ครูในฐานะที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นปูชนียบุคคล ควรกอร์ปด้วยคุณธรรมของครู คือเปิด ประตูทางวิญญาณของโลกที่ปิดด้วยอวิชชาให้ออกมาสู่แสงสว่าง และอิสรภาพทางจิตมีลักษณะ สูงส่งใน แง่คุณธรรม มีหน้าที่พัฒนามนุษย์ให้เป็นในทางที่ถูกทุกวิถีทาง มีจิตใจเปี่ยมด้วยเมตตา กรุณาและปัญญา ทําบุญคุณและมีประโยชน์แก่โลกอย่างมหาศาลโดยได้รับประโยชน์ตอบแทน เพียงเลี้ยวชีวิตได้ ครูต้อง สร้างเด็กให้มีสติปัญญา มีเหตุผล ช่วยให้เขาหลุดพ้นจากสัญชาติญาณ อย่างสัตว์ สามารถสร้างบ้านสร้าง ชาติและสังคมโลก เป็นพุทธมามกะที่สมบูรณ์ รู้จักรับผิดชอบชั่วดี เชื่อฟังบิดามารดา และให้เขารู้จักว่า “ไท” (อิสระจากกิเลส) “มัชฌิม” (ทางสายกลางอริยมรรค) “โชคดี” (ทําดีทางกาย วาจา ใจ) “เกียรติ” (รู้ว่า ตนเองได้ทําดีถูกต้อง มีคุณค่า ควรแก่การ ภาคภูมิใจ)

พระราชนันทมุนี (2525 : 3-4) ได้นําหลักธรรมในพุทธศาสนาเกี่ยวกับพระกรุณาธิคุณของ พระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงถึงคุณลักษณะของผู้อบรมสั่งสอนที่เป็นเลิศดังนี้

“พระพุทธศาสนา ถือว่าความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน นั้น อยู่ในฐานะเป็นกัลยา นิมิตร คือเป็น ผู้ช่วยเหลือ แนะนําผู้เรียนให้ดําเนินก้าวหน้าไปในมรรคแห่งการฝึกอบรม ซึ่งมีลักษณะ 7 ประการดังนี้ คือ”
1. ปิโย คือ กระทําตนให้เป็นที่น่ารัก เป็นที่น่าไว้วางใจ
2. ครุ คือ น่า เคารพทําให้ศิษย์เกิดความ อบอุ่น
3. ภาวนิโย คือ น่ายกย่อง ทรงคุณความรู้ ภูมิปัญญาอย่างแท้จริง
4. วัตตา คือ รู้จักระเบียบแบบแผน ทั้งกายและวาจา
5. วัจนักนโม คือ อดทนต่อพฤติกรรมของศิษย์
6. คัมภีรันญกะถังกัตตา คือ มีความสามารถชี้แจง เรื่องต่าง ๆ ที่ลึกซึ้งได้
7. โนจัตถาเน นิโยชะเย คือ ไม่ชักจูงศิษย์ไปในทางที่เสื่อมเสีย
ให้คะแนนบทความนี้
[รวม: 0 เฉลี่ย: 0]