ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา
เรื่อง สาระความรู้และสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา
และผู้บริหารการศึกษาตามมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
หมวด ๑ ผู้ประกอบวิชาชีพครู
สาระความรู้และสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพครูตามมาตรฐานความรู้
1. ภาษาและเทคโนโลยีสําหรับครู ประกอบด้วย
(ก) สาระความรู้
- ภาษาไทยสําหรับครู
- ภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศอื่นๆ สําหรับครู
- เทคโนโลยีสารสนเทศสําหรับครู
(ข) สมรรถนะ
- สามารถใช้ทักษะในการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนภาษาไทยเพื่อการสื่อความหมายได้อย่างถูกต้อง
- สามารถใช้ทักษะในการฟ้ง การพูด การอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศอื่นๆ เพื่อการสื่อความหมายได้อย่างถูกต้อง
- สามารถใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน
2.การพัฒนาหลักสูตร ประกอบด้วย
(ก) สาระความรู้
- ปรัชญา แนวคิดทฤษฎี การศึกษา
- ประวัติ ความเป็นมาและระบบการจัดการศึกษาไทย
- วิสัยทัศน์และแผนพัฒนาการศึกษาไทย
- ทฤษฎีหลักสูตร
- การพัฒนาหลักสูตร
- มาตรฐานและมาตรฐานช่วงชั้นของหลักสูตร
- การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
- ปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร
(ข) สมรรถนะ
- สามารถวิเคราะห์หลักสูตร
- สามารถปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรได้อย่างหลากหลาย
- สามารถประเมินหลักสูตรได้ทั้งก่อนและหลังการใช้หลักสูตร
- สามารถจัดทําหลักสูตร
3.การจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย
(ก) สาระความรู้
- ทฤษฎีการเรียนรู้และการสอน
- รูปแบบการเรียนรู้และการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน
- การออกแบบและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
- การบูรณาการเนื้อหาในกลุ่มสาระการเรียนรู้
- การบูรณาการการเรียนรู้แบบเรียนรวม
- เทคนิคและวิทยาการจัดการเรียนรู้
- การใช้และการผลิตสื่อและการพัฒนานวัตกรรมในการเรียนรู้
- การจัดการเรียนรู้แบบยึดผู้เรียนเป็นสําคัญ
- การประเมินผลการเรียนรู้
(ข) สมรรถนะ
- สามารถนําประมวลรายวิชามาจัดทําแผนการเรียนรูรายภาคและตลอดภาค
- สามารถออกแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน
- สามารถเลือกใช้พัฒนาและสร้างสื่ออุปกรณ์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน
- สามารถจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและจําแนกระดับการเรียนรู้ของผู้เรียนจากการประเมินผล
4.จิตวิทยาสําหรับครู ประกอบด้วย
(ก) สาระความรู้
- จิตวิทยาพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการมนุษย์
- จิตวิทยาการศึกษา
- จิตวิทยาการแนะแนวและให้คําปรึกษา
(ข) สมรรถนะ
- เข้าใจธรรมชาติของผู้เรียน
- สามารถช่วยเหลือผู้เรียนให้เรียนรู้และพัฒนาได้ตามศักยภาพของตน
- สามารถให้คําแนะนําช่วยเหลือผู้เรียนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
- สามารถส่งเสริมความถนัดและความสนใจของผู้เรียน
5. การวัดและประเมินผลการศึกษา ประกอบด้วย
(ก) สาระความรู้
- หลักการและเทคนิคการวัดและประเมินผลทางการศึกษา
- การสร้างและการใช้เครื่องมือวัดผลและประเมินผลการศึกษา
- การประเมินตามสภาพจริง
- การประเมินจากแฟ้มสะสมงาน
- การประเมินภาคปฏิบัติ
- การประเมินผลแบบย่อยและแบบรวม
(ข) สมรรถนะ
- สามารถวัดและประเมินผลได้ตามสภาพความเป็นจริง
- สามารถนําผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงการจัดการเรียนรู้และหลักสูตร
- การบริหารจัดการในห้องเรียน ประกอบด้วย
(ก) สาระความรู้
- ทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ
- ภาวะผู้นําทางการศึกษา
- การคิดอย่างเป็นระบบ
- การเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กร
- มนุษยสัมพันธ์ในองค์กร
- การติดต่อสื่อสารในองค์กร
- การบริหารจัดการชั้นเรียน
- การประกันคุณภาพการศึกษา
- การทํางานเป็นทีม
- การจัดทําโครงงานทางวิชาการ
- การจัดโครงการฝึกอาชีพ
- การจัดโครงการและกิจกรรมเพื่อพัฒนา
- การจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ
- การศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน
(ข) สมรรถนะ
- มีภาวะผู้นํา
- สามารถบริหารจัดการในชั้นเรียน
- สามารถสื่อสารได้อย่างมีคุณภาพ
- สามารถในการประสานประโยชน์
- สามารถนํานวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการบริหารจัดการ
- การวิจัยทางการศึกษา ประกอบด้วย
(ก) สาระความรู้
- ทฤษฎีการวิจัย
- รูปแบบการวิจัย
- การออกแบบการวิจัย
- กระบวนการวิจัย
- สถิติเพื่อการวิจัย
- การวิจัยในชั้นเรียน
- การฝึกปฏิบัติการวิจัย
- การนําเสนอผลงานวิจัย
- การค้นคว้าศึกษางานวิจัยในการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้
- การใช้กระบวนการวิจัยในการแก้ปัญหา
- การเสนอโครงการเพื่อทําวิจัย
(ข) สมรรถนะ
- สามารถนําผลการวิจัยไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน
- สามารถทําวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและพัฒนาผู้เรียน
- นวัตกรรมและเทคโนโลยี สารสนเทศทางการศึ กษา ประกอบด้วย
(ก) สาระความรู้
- แนวคิดทฤษฎีเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้
- เทคโนโลยีและสารสนเทศ
- การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศ
- แหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้
- การออกแบบการสร้างการนําไปใช้การประเมินและการปรับปรุงนวัตกรรม
(ข) สมรรถนะ
- สามารถเลือกใช้ออกแบบสร้างและปรับปรุงนวัตกรรมเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี
- สามารถพัฒนาเทคโนโลยี และสารสนเทศเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี
- สามารถแสวงหาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน
- ความเป็นครู ประกอบด้วย
(ก) สาระความรู้
- ความสําคัญของวิชาชีพครู บทบาท หน้าที่ ภาระงานของครู
- พัฒนาการของวิชาชีพครู
- คุณลักษณะของครูที่ีด
- การสร้างทัศนคติที่ีดต่อวิชาชีพครู
- การเสริมสร้างศักยภาพและสมรรถภาพความเป็นครู
- การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และการเป็นผู้นําทางวิชาการ
- เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู
- จรรยาบรรณของวิชาชีพครู
- กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
(ข) สมรรถนะ
- รัก เมตตา และปรารถนาดี ต่อผู้เรียน
- อดทนและรับผิดชอบ
- เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และเป็นผู้นําทางวิชาการ
- มีวิสัยทัศน์
- ศรัทธาในวิชาชีพครู
- ปฏิบัติตามจรรยาบรรณของวิชาชีพครู
สาระการฝึกทักษะและสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพครูตามมาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ
- การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน ประกอบด้วย
(ก) สาระการฝึกทักษะ
- การบูรณาการความรู้ทั้งหมดมาใช้ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถานศึกษา
- ฝึกปฏิบัติ การวางแผนการศึกษาผู้เรียนโดยการสังเกตสัมภาษณ์รวบรวมข้อมูลและนําเสนอผลการศึกษา
- มีส่วนร่วมกับสถานศึกษาในการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรรวมทั้งการนําหลักสูตรไปใช้
- ฝึกการจัดทําแผนการเรียนรู้ร่วมกับสถานศึกษา
- ฝกปฏิบัติการดําเนินการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยเข้าไปมีส่วนร่วมในสถานศึกษา
- การจัดทําโครงงานทางวิชาการ
(ข) สมรรถนะ
- สามารถศึกษาและแยกแยะผู้เรียนได้ตามความแตกต่างของผู้เรียน
- สามารถจัดทําแผนการเรียนรู้
- สามารถฝึกปฏิบัติการสอนตั้งแต่การจัดทําแผนการสอน ปฏิบัติการสอนประเมินผลและปรับปรุง
- สามารถจัดทําโครงงานทางวิชาการ
- การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ ประกอบด้วย
(ก) สาระการฝึกทักษะ
- การบูรณาการความรู้ทั้งหมดมาใช้ในการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา
- การจัดทําแผนการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้รียนเป็นสำคัญ
- การจัดกระบวนการเรียนรู้
- การเลือกใช้การผลิตสื่อและนวัตกรรมที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้
- การใช้เทคนิคและยุทธวิธีในการจัดการเรียนรู้
- การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
- การทําวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียน
- การนําผลการประเมินมาพัฒนาการจัดการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
- การบันทึกและรายงานผลการจัดการเรียนรู้
- การสัมมนาทางการศึกษา
(ข) สมรรถนะ
- สามารถจัดการเรียนรู้ในสาขาวิชาเฉพาะ
- สามารถประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับศักยภาพ ของผู้เรียน
- สามารถทําวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียน
- สามารถจัดทํารายงานผลการจัดการเรียนรู้และการพัฒนาผู้เรียน
เรื่อง ความสามารถ Competency หรือ สมรรถนะ วิชาชีพ จุดสำคัญ มี 2 ส่วนที่สำคัญ ส่วนแรก คือ กรอบหรือโมเดลสมรรถนะ ที่ต้องดำเนินการกำหนดให้มีอย่างเป็นระบบและมีองค์ประกอบที่ชัดเจนตามหลักวิชา (Competency Model Development) ส่วนที่สอง คือ การนำกรอบหรือโมเดลไปใช้สำหรับงานบริหารทรัพยากรบุคคล (Competency-Based HR Development) …ซึ่งทั้งสองส่วนต้องคำนึงถึงหลักของการพัฒนาวิชาชีพ (Professional Development) เป็นแนวทางสำคัญ ……ถ้าผู้ออกหรือกำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ไม่ปฏิบัติตามกรอบคุณวุฒิวิชาชีพ (NVQF) และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งไม่ยอมเปลี่ยนแนวคิดการพัฒนาคน จาก Standard Based มาเป็น Competency Based เหมือนชาวโลกอื่นๆ …..ก็จะเป็นเหมือนอย่างที่เห็นกันอยู่นี่แหละ…..ได้แต่เอาใจช่วยนะครับ…และแนะว่า อยากให้ไปดูของเวียตนามเขานะครับ……ไม่ใช่ดีเลิศแต่ของเขาทันโลกปัจจุบัน..จริงๆ