สมรรถนะครู สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย
1. สมรรถนะหลัก (มี 5 สมรรถนะ)
1.1. การมุ่งผลสัมฤทธิ์
1.2. การบริการที่ดี
1.3. การพัฒนาตนเอง
1.4. การทำงานเป็นทีม
1.5. จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู
2. สมรรถนะประจำสายงาน (มี 6 สมรรถนะ)
2.1. การออกแบบการเรียนรู้
2.2. การพัฒนาผู้เรียน
2.3. การบริหารจัดการชั้นเรียน
2.4. การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน
2.5. ภาวะผู้นำครู
2.6. การสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้
สมรรถนะหลัก
(Core Competency)
สมรรถนะที่ 1 การมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน (Working Achievement Motivation) หมายถึง ความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานในหน้าที่ให้มีคุณภาพ ถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยมีการวางแผน กำหนดเป้าหมาย ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน และปรับปรุงพัฒนาประสิทธิภาพและผลงานอย่างต่อเนื่อง
สมรรถนะที่ 2 การบริการที่ดี (Service Mind) หมายถึง ความตั้งใจและความเต็มใจในการให้บริการ และการปรับปรุงระบบบริการให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ
สมรรถนะที่ 3 การพัฒนาตนเอง (Self- Development) หมายถึง การศึกษาค้นคว้า หาความรู้ ติดตามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้ใหม่ๆ ทางวิชาการและวิชาชีพ มีการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรม เพื่อพัฒนาตนเอง และพัฒนางาน
สมรรถนะที่ 4 การทำงานเป็นทีม (Team Work) หมายถึง การให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ สนับสนุนเสริมแรงให้กำลังใจแก่เพื่อนร่วมงาน การปรับตัวเข้ากับผู้อื่นหรือทีมงาน แสดงบทบาทการเป็นผู้นำหรือผู้ตามได้อย่างเหมาะสมในการทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อสร้างและดำรงสัมพันธภาพของสมาชิก ตลอดจนเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย
สมรรถนะที่ 5 จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู (Teacher’s Ethics and Integrity) หมายถึง การประพฤติปฏิบัติตนถูกต้องตามหลักคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน และสังคม เพื่อสร้างความศรัทธาในวิชาชีพครู
สมรรถนะประจำสายงาน
(Functional Competency)
สมรรถนะที่ 1 การบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ (Curriculum and Learning Management) หมายถึง ความสามารถในการสร้างและพัฒนาหลักสูตรการออกแบบการเรียนรู้อย่างสอดคล้องและเป็นระบบ จัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยี และการวัด ประเมินผล การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด
สมรรถนะที่ 2 การพัฒนาผู้เรียน (Student Development) หมายถึง ความสามารถในการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม การพัฒนาทักษะชีวิต สุขภาพกาย และสุขภาพจิต ความเป็นประชาธิปไตย ความภูมิใจในความเป็นไทย การจัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ
สมรรถนะที่ 3 การบริหารจัดการชั้นเรียน (Classroom Management) หมายถึง การจัดบรรยากาศการเรียนรู้ การจัดทำข้อมูลสารสนเทศและเอกสารประจำชั้นเรียน/ประจำวิชา การกำกับดูแลชั้นเรียนรายชั้น/รายวิชา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุข และความปลอดภัยของผู้เรียน
สมรรถนะที่ 4 การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน (Analysis & Synthesis & Classroom Research) หมายถึง ความสามารถในการทำความเข้าใจ แยกประเด็นเป็นส่วนย่อย รวบรวม ประมวลหาข้อสรุปอย่างมีระบบและนำไปใช้ในการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งสามารถวิเคราะห์องค์กรหรืองานในภาพรวมและดำเนินการแก้ปัญหา เพื่อพัฒนางานอย่างเป็นระบบ
สมรรถนะที่ 5 ภาวะผู้นำครู (Teacher Leadership) หมายถึง คุณลักษณะและพฤติกรรมของครูที่แสดงถึงความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ส่วนบุคคล และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนโดยปราศจากการใช้อิทธิพลของผู้บริหารสถานศึกษา ก่อให้เกิดพลังแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้มีคุณภาพ
สมรรถนะที่ 6 การสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้ (Relationship & Collaborative – Building for Learning Management) หมายถึง การประสานความร่วมมือ สร้างความสัมพันธ์ที่ดี และเครือข่ายกับผู้ปกครอง ชุมชน และองค์กรอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อสนับสนุนส่งเสริมการจัดการเรียนรู้
สมาชิกแสดงความคิดเห็น
ขอของ ป.2 วิเคราะห์ห…
เฉลยไม่ถูกอยู่หลายข้…
ครูค.ศ.3 เต็มขั้น/…
ขอบคุณคับ
กลุ่มเรื่องฮิตที่น่าสนใจ
cover excel PA powerpoint SAR ก.พ. กพ ข้อสอบ ข้อสอบคอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์ ครูผู้ช่วย คอมพิวเตอร์ จรรยาบรรณ ดาวน์โหลด ปก ย้าย ว21 วิจัย วิจัยในชั้นเรียน วิชาชีพครู วิทยฐานะ สอบครู สอบครูผู้ช่วย แนวข้อสอบ แผนการสอน
ข้อมูลอ้างอิง มาจากไหนครับพอดี เห็น ขึ้นหัวว่า สมรรถนะครู สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อยากทราบปี พ.ศ. ครับ ว่าจะใช้อ้างอิงในงานวิจัย ครับ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2553 ครับผม
ก็เห็นด้วยที่ สพฐ.จะใช้กรอบสมรรถนะ ทั้งสองส่วนนี้ต่อไป…ถึงแม้ว่าจะออกมานานแล้วก็ตาม..จุดอ่อนก็คือ สมรรถนะแต่ละรายการไม่ได้จัดทำมาตรฐานสมรรถนะเอาไว้ ทำให้ครูไม่มีแนวทางปฏิบัติที่จะทำให้เกิดความสามารถตามสมรรถนะได้ ..เรียกว่า ตัวแบบไม่สมบูรณ์..และ กรอบสมรรถนะนี้ ใช้เป็น แบบเดียวเหมาหมด ทั้งครูประถม/มัธยม/เอกชน หรืออื่นๆด้วยหรือไม่รู้….มาถึงปัจจุบัน พ.ศ.นี้ แล้ว สพฐ.ควรพัฒนา Competency Model สำหรับผู้บริหาร ครู (รายวิชา/หมวด) หรือ ประเภท ได้แล้ว ไม่เช่นนั้น ไม่ทันกลุ่มประเทศอาเซียนและโลกแน่นอน..แล้วประกาศให้เป็นกรอบสมรรถนะของไทยอย่างสมภาคภูมิหน่อยเถอะ..อยากเห็นจริงๆ