วันอังคาร, 28 มีนาคม 2566

การวัดและประเมินผลด้านความรู้ความคิด

การวัดและประเมินผลด้านความรู้ความคิด (Knowledge หรือ  Cognitive domain)

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้านความรู้ ความคิดของผู้เรียนส่วนใหญ่จะวัดด้วยวิธีการ ทดสอบ เครื่องมือที่ใช้วัด คือ แบบทดสอบ หรืออาจจะวัดด้วยวิธีการอื่นๆได้ เช่นการตรวจรายาน การตรวจแบบฝึกหัด หรือการสังเกตพฤติกรรมขณะที่เด็กเรียนรู้แต่วิธีการวัดด้วยการทดสอบรายงานสะดวกและวัดได้เที่ยงตรงใช้เวลาสั้นมากกว่าวิธีการอื่น จึงเป็นที่นิยมกันมาก

แบบทดสอบแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ 

1. แบบทดสอบแบบปรนัย (Objective Item)

2. แบบทดสอบแบบอัตนัย (Essay Item or Subjective)

แบบทดสอบแบบปรนัย เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดด้านพฤติกรรมด้านความรู้ ความคิด ที่สามารถวัดได้ลึกซึ้งสามารถถามได้มากข้อละเอียดตรวจคะแนนได้เที่ยงตรงมากที่สุด ใช้เวลาตรวจน้อยและง่าย สามารถนำเอาผลการวัดที่ได้มาวิเคราะห์หาคุณภาพของผู้เรียนได้โดยตรงและผู้สอนมีโอกาศเลือกเดาได้ถูกต้อง

แบบทดสอบแบบอัตนัย เป็นเครื่องมือวัดที่เปิดโอกาศให้ผู้ตอบได้อย่างอิสระเต็มที่สูงสุด ผู้ตอบสามารถแสดงความคิดเห็นได้ครอบคลุมตามระดับพฤติกรรมการเรียนรู้ถึงขั้นสูงสุด คือ ขั้นประเมินค่าได้ เป็นเครื่องมือที่สามารถจัดสมรรถภาพทางด้านบูรณาการทางความคิดให้สมบูรณ์

 

ที่มา : เอกสารหมายเลข ๒ (อบรมการพัฒนาการเรียนการสอน รร.แม่ลาววิทยาคม ๒๕๕๖)

ให้คะแนนบทความนี้
[รวม: 0 เฉลี่ย: 0]