การเผยแพร่ผลงานวิชาการถือว่าเป็นช่องทางหนึ่งที่คุณครูผู้ที่ได้ทำวิจัยนวัตกรรมการศึกษาได้เผยแพร่งานของตนเองเพื่อเป็นแนวทางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนครู
ซึ่งแอดมินครูเชียงรายได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก จึงได้ดำเนินการจัดทำเว็บบอร์ดเพื่อให้ครูได้ทำการเผยแพร่ผลงานวิชาการที่ตนเองได้จัดทำขึ้นเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษาได้เป็นแนวทางกับผู้อื่น
การเข้าไปใช้งานนั้นก็ไม่ยากครับผม เพียงแค่คุณครูคลิกเข้าไปที่ เว็บบอร์ด เผยแพร่ผลงานวิชาการ ก็จะพบลิ้ง https://www.kruchiangrai.net/forums/ แล้วครับผม แล้วก็ดำเนินการโพสบทคัดย่อลงไปได้เลยครับผม
เมื่อดำเนินการเผยแพร่แล้วก็ถือว่าเสร็จสิ้นการเผยแพร่ผลงานแล้วครับผม เมื่อมีผู้ชมเข้ามาอ่านก็จะมีการแจ้งเตือนขึ้น สำหรับท่านที่ต้องการเผยแพร่ผลงานวิชาก็สามารถเข้าไปใช้งานระบบเผยแพร่ผลงานได้กับเว็บไซต์ครูเชียงรายได้ฟรีๆ ครับผม
https://www.kruchiangrai.net/forums/
ชื่อเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกกลวิธีส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้ศึกษา นายจิรัฎฐ์ หัสสา
สังกัด โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๔
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกกลวิธีส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 2) ศึกษาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ ก่อนเรียนและหลังเรียน และ3) ศึกษาเจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้แบบฝึกกลวิธีส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ
กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๔ จังหวัดหนองคาย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 34 คน การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงพัฒนาแบบกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วยแบบฝึกกลวิธีส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ จำนวน 10 เล่ม คู่มือการใช้ แบบฝึกกลวิธีส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ จำนวน 1 เล่ม แบบวัดความสามารถในการอ่าน ภาษาอังกฤษ และแบบวัดเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ดำเนินการ ทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลการศึกษาในระยะเวลาทั้งสิ้น 30 ชั่วโมง สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระต่อกัน ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกแบบฝึกกลวิธีส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจมีค่าเท่ากับ 82.74/82.85 ซึ่งถือว่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
2. ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกกลวิธีส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนมีเจตคติอยู่ในระดับดีต่อการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้แบบฝึกกลวิธีส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 89.97 ค่าเฉลี่ย ( ) = 4.50 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. ) เท่ากับ 0.66
ชื่อเรื่อง การพัฒนาความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ที่เรียนโดยชุดการสอนด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน
ผู้ศึกษา นายจิรัฎฐ์ หัสสา
สถานศึกษา โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๔ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของชุดการสอนด้วยเทคนิค การจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ตามที่กำหนดไว้ 80/80 2) ศึกษาความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยชุดการสอนด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ก่อนเรียนและหลังเรียน และ3) ศึกษาเจตคติที่มีต่อการใช้ชุดการสอนด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๑๔ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 คน การวิจัยครั้งนี้ใช้ แบบแผนการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงพัฒนาแบบกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และเครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย คือ ชุดการสอนด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน จำนวน 10 ชุด คู่มือการใช้ชุดการสอน แบบวัดความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ และแบบวัดเจตคติต่อการใช้ชุดการสอน โดยใช้ระยะเวลาในดำเนินการทดลองทั้งหมด 30 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระต่อกัน ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ประสิทธิภาพของชุดการสอนด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน มีค่าเท่ากับ 84.18/84.27 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับดีและสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2. ความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้ชุดการสอนด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. เจตคติต่อการจัดการเรียนการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้ชุดการสอนด้วยเทคนิคการจัด การเรียนรู้ 5 ขั้นตอน อยู่ในระดับดี
คุณครูสามารถเผยแพร่ได้ที่ลิ้งนี้ครับผม
https://www.kruchiangrai.net/forums/
มีหนังสือตอบรับมั้ยคะ
ไม่มีครับผม
ชื่อเรื่อง รายงานการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้วิจัย นางสาวภาวิณี สกุณา
ประเภทผลงานวิชาการ ผลงานวิจัย
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อ (1) สร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
โดยมีวิธีดำเนินกับกลุ่มตัวอย่างเพื่อการทดลองใช้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาลวัดใหญ่ สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 1 ห้องเรียน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่มด้วยวิธีการจับฉลาก ได้ห้อง ป.3/1 จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 7 เล่ม คือ เล่มที่ 1 เรื่อง การใช้ศักราชในชีวิตประจำวัน เล่มที่ 2 เรื่อง เหตุการณ์สำคัญของโรงเรียนและชุมชน เล่มที่ 3 เรื่อง การตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการของชุมชน เล่มที่ 4 เรื่อง ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมในท้องถิ่น เล่มที่ 5 เรื่อง ผู้สถาปนาอาณาจักรไทย เล่มที่ 6 เรื่อง บุคคลสำคัญของไทย และเล่มที่ 7 เรื่อง บรรพบุรุษไทย (2) คู่มือการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 20 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบค่า ที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (E1/E2) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.57/85.36 ซึ่งค่าประสิทธิภาพที่ได้มีค่าสูงกว่าเกณฑ์ 80/80
2. นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในภาพรวมมีความพึงพอใจระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.79
ชื่อผลงาน :รายงานการประเมินโครงการ การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนบ้านโคกม้า ปีการศึกษา 2563
ผู้รายงาน :นายนิพิฐพนธ์ ทัพพ์ชัยศิริ
หน่วยงาน :โรงเรียนบ้านโคกม้า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3
ปีที่ประเมิน :2563
บทสรุป
การประเมินโครงการ การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนบ้านโคกม้า
ปีการศึกษา 2563 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบทของโครงการ ประเมินปัจจัยนำเข้า ประเมินกระบวนการ และประเมินผลผลิต ได้แก่ การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ประสิทธิภาพของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปีการศึกษา 2562-2563 และความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ
ประชากร ซึ่งประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน นักเรียน จำนวน 36 คน ครู จำนวน 11 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน จำนวน 6 ฉบับ ประกอบด้วย แบบสอบถาม 5 ฉบับและแบบบันทึก 1 ฉบับ
เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม 6 ฉบับ มีการวิเคราะห์ข้อมูลได้ใช้การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้หาคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC เพื่อหาความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถาม อยู่ระหว่าง 0.80 – 1.00 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาหาความเที่ยงของแบบสอบถาม ซึ่งมีผลการประเมินและข้อเสนอแนะสรุปได้ ดังนี้
ผลการประเมิน
ผลการประเมิน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นและภาพรวมของโครงการ ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบท พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับ มากที่สุด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับ มากที่สุด
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับ มากที่สุด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทุกตัวชี้วัด
4.1 การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 : ด้านกายภาพ พบว่า ผ่านเกณฑ์
การประเมินและอยู่ในระดับ มากที่สุด และด้านจิตวิทยา พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับ มากที่สุด
4.2 การประเมินประสิทธิภาพของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปีการศึกษา 2562 –
2563 มีค่าพัฒนาเพิ่มขึ้น 3.80 ในปีการศึกษา 2563 ด้วยค่าเฉลี่ยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 อยู่ในเกณฑ์ ปานกลาง
4.3 ระดับการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการของนักเรียน ครู และคณะกรรมการ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับ มากที่สุด
5. ผลการประเมินโครงการ การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียน
บ้านโคกม้า ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวม พบว่า ผลการประเมินโครงการผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นและทุกตัวชี้วัด
ข้อเสนอแนะ
รายงานการประเมินโครงการ การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียน
บ้านโคกม้า ปีการศึกษา 2563 ต้องอาศัยความร่วมมือในการส่งเสริมพัฒนาจากทุกฝ่าย ซึ่งประกอบด้วย ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน ชุมชนและองค์กรท้องถิ่น ซึ่งจะทำให้นักเรียนได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จากรายงานผลการประเมินโครงการ การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP MODEL ปีการศึกษา 2563 จะเห็นได้ว่า ควรดำเนินงานโครงการนี้ต่อไป ทั้งนี้ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายควรนำผลการประเมินไปปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานโครงการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
1. จากผลการประเมินประเด็นบริบทของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับ
มากที่สุด ทั้ง 4 ตัวชี้วัด แต่เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ความเป็นไปได้ของโครงการ อยู่ในระดับ มากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ผู้บริหารจึงควรชี้แจงทำความเข้าใจกับครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้เห็นถึงความสำคัญของการร่วมมือเพื่อส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพ ต้องกำกับ ติดตามการดำเนินงานโครงการอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้บริบทของโครงการเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการการดำเนินโครงการ การกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นและความเป็นไปได้ของโครงการจะเป็นเข็มทิศชี้นำการปฏิบัติไปสู่ความสำเร็จ จึงควรมีการพิจารณาถึงความต้องการจำเป็นของสภาพแวดล้อม คือ ความต้องการของนักเรียน ครู และกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา หน่วยงานต้นสังกัดและสภาพปัญหาของนักเรียนอันเป็นการตอบสนองนักเรียนอย่างแท้จริง
2. จากผลการประเมินประเด็นปัจจัยนำเข้าโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับ
มากที่สุด ทั้ง 5 ตัวชี้วัด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ความเหมาะสมของบุคลากรที่รับผิดชอบ มีความรู้ ความสามารถ และมีความพร้อมในการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับ มากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ผู้บริหารจึงควรสร้างความตระหนักและเลือกบุคลากรที่มีความเหมาะสม รับผิดชอบ มีความรู้ ความสามารถ และมีความพร้อมในการปฏิบัติงาน ควรจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอต่อการพัฒนาสภาพแวดล้อมเพื่อให้การดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพแลเกิดะประสิทธิผลสูงสุด
3. จากผลการประเมินประเด็นกระบวนการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับ
มากที่สุด ทั้ง 4 ตัวชี้วัด เมื่อพิจารณา พบว่า การวางแผนการดำเนินงานควรวางแผนโดยมีเป้าหมายการปฏิบัติและชี้แจงอย่างชัดเจน สามารถดำเนินการและปฏิบัติได้ทันที ควรติดตามและประเมินผลในการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การดำเนินโครงการบรรลุวัตถุประสงค์
4. จากผลการประเมินประเด็นผลผลิต พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับ ปานกลาง
ของการประเมินผลสัมฤทธิ์ และมากที่สุด ของการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการประเมินความพึงพอใจ ทั้งนี้ ผู้บริหารควรหาข้อมูลหรือทำวิจัยเชิงคุณภาพเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อเป็นแนวทางในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่อไป
5. จากผลการประเมินความพึงพอใจ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกคำถาม นักเรียน ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจต่อโครงการในระดับสูงจึงควรจัดกิจกรรมตามโครงการอย่างต่อเนื่องและปรับเปลี่ยนกิจกรรมให้เหมาะกับความต้องการและสภาพบริบทของนักเรียน เพื่อสร้างความพึงพอใจให้มากยิ่งขึ้นไป
ข้อเสนอแนะในการประเมินครั้งต่อไป
1. ควรทำการวิจัยหรือประเมินเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการดำเนินโครงการ
การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3
2. ควรมีการศึกษาวิจัยรูปแบบที่เหมาะสมต่อการดำเนินการโครงการ การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ตามขนาดโรงเรียน โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP MODEL เพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศในแง่มุมอื่นที่ใช้พัฒนาโครงการให้มีประสิทธิภาพต่อไป
3. ควรประเมินเชิงสาเหตุเพื่อจะได้ทราบถึงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อโครงการเพื่อนำไปแก้ไขปรับปรุงพัฒนาโครงการได้ตรงตามสาเหตุและปัญหาของการประเมินต่อไป
ชื่อเรื่อง : การพัฒนาเสริมทักษะ เรื่อง การแยกสาร โดยใช้แบบฝึกพัฒนา
เสริมทักษะการแยกสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียนปางหัดสหศาสตร์ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย
ชื่อผู้วิจัย : นางรัตนา สุวรรณผูก
ตำแหน่ง : ครู วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ
ประเภทผลงานวิชาการ : งานวิจัยเพื่อพัฒนา
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้แบบฝึกพัฒนาเสริมทักษะ เรื่อง การแยกสาร โรงเรียนปางหัดสหศาสตร์ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ก่อนและหลังการทำแบบฝึกทักษะโดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลดังนี้ ทดสอบก่อนเรียน โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ดำเนินการจัดการเรียนรู้กับกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบฝึกพัฒนาเสริมทักษะการแยกสาร เมื่อเสร็จสิ้นการจัดการเรียนรู้แล้ว ทำการทดสอบหลังเรียนโดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นำผลคะแนนจากการตรวจแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมาวิเคราะห์ โดยใช้วิธีการทางสถิติคือ การหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลจากการศึกษาพบว่า ปรากฏว่า ก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 9.35 หลังเรียนมีคะแนน
เฉลี่ยอยู่ที่ 14.48 นักเรียนมีผลการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 5.13 คะแนน นักเรียนมีคะแนนมากกว่าร้อยละ 70 คิดเป็นร้อยละ 76.59 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ คะแนน ก่อนเรียนมีค่า 1.83 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนหลังเรียนมีค่า 1.95 ดังนั้นนักเรียนมี การพัฒนาดีขึ้น
จากการวิจัย ทำให้ทราบว่า การทดลองใช้แบบฝึกพัฒนาเสริมทักษะการแยกสารสำหรับนักเรียนชั้นประถมปีที่ 6 โรงเรียนปางหัดสหศาสตร์ ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย นั้นส่งผลให้คะแนนผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนสูงขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1
ผู้ประเมิน นางนิลุบล ชุมแวงวาปี
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
หน่วยงาน โรงเรียนรัฐประชา 509 อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี
ปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 โดยใช้การประเมินตามรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ซึ่งเป็นแนวคิดของสติฟเฟลบีม (Stufflebeam) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินด้านบริบทของโครงการ 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการของโครงการ 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิตของโครงการ โดยแบ่งการประเมินเป็น 4 ด้าน ประกอบด้วย 4.1) การประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ 4.2) การวิเคราะห์ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 และการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4.3) การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อโครงการ และ 4.4) การประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อโครงการ กลู่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ ครู จำนวน 11 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 8 คน นักเรียนจำนวนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 60 คน ปีการศึกษา 2563 และ ผู้ปกครองนักเรียนของนักเรียนจำนวนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 60 คน รวมทั้งสิ้น 139 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( )
ผลการประเมินโครงการ พบว่า การประเมินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (µ=4.42, σ=0.69) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน มีรายละเอียดดังนี้
1. การประเมินด้านบริบทของโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (µ=4.24, σ=0.64) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด
2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (µ=4.44, σ=0.69) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด
3. การประเมินด้านกระบวนการของโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (µ=4.48, σ=0.74) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการวางแผน (Plan) รองลงมาคือ ด้านการดำเนินงาน (Do) ด้านการปรับปรุง (Action) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการตรวจสอบ (Check) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด
4. การประเมินด้านผลผลิตของโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ประกอบด้วย 5 ด้าน ประกอบด้วย
4.1 การประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ตามความคิดเห็นของ ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านผลผลิต โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (µ=4.51, σ=0.69) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด
4.2 การวิเคราะห์การเปรียบเทียบผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 พบว่า โดยภาพรวม ค่าเฉลี่ยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.30 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด และ ผลการเปรียบเทียบผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 ระหว่างคะแนนเฉลี่ยระดับโรงเรียนกับค่าเฉลี่ยระดับประเทศ พบว่า โดยภาพรวม ค่าเฉลี่ยมากกว่าระดับประเทศ ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด และการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยภาพรวม ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 4.35 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (µ=4.44, σ=0.76) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด
4.4 การประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (µ=4.45, σ=0.75) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด
ชื่อเรื่อง รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้ TONKHORS MODEL โรงเรียนราชประชา509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1
ผู้วิจัย นางนิลุบล ชุมแวงวาปี
สถานศึกษา โรงเรียนราชประชา509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
ปีที่วิจัย 2563-2564
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ TONKHORS โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1
2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ TONKHORS MODEL โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ TONKHORS MODEL โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 4) เพื่อศึกษาผลการประเมินความพึงพอใจรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ TONKHORS MODEL โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอน 7 คน บุคลากรทางการศึกษา 3 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 8 คน (ยกเว้นผู้บริหารสถานศึกษา 1 คน) นักเรียน 60 คน ผู้ปกครอง 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถาม จำนวน 4 ฉบับ 2) แบบสัมภาษณ์ จำนวน 1 ฉบับ 3) แบบตรวจสอบ 1 ฉบับ 4) แบบประเมิน 1 ฉบับ 5) แบบวิเคราะห์เอกสาร การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษา สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่มีประสิทธิภาพโดยใช้ TONKHORS MODEL โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 สภาพปัจจุบัน โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน ส่วนด้านระดับปัญหา โดยรวมอยู่ในระดับ มากทุกด้าน และความต้องการ อยู่ในระดับมากที่สุด 4 ด้าน ระดับมาก 3 ด้าน
2. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ TONKHORS MODEL โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 ประกอบด้วย 1.ด้านการทำงานเป็นทีม (T : Teamwork) 2.ด้านมุ่งพัฒนาคุณภาพการศึกษา(O = Ongoing development ) 3.ด้านเครือข่ายคุณภาพ( N : Network Quality) 4ด้านองค์กรแห่งการเรียนรู้และความสุข ( KH = Knowledge & Happiness) 5.ด้านองค์กรคุณภาพ (O : Organization)6.ด้านความพร้อม( R : Readiness) 7 ด้านหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง(S : Sufficiency Economy) โดยมีความสัมพันธ์กันทั้ง 7 ด้าน
3. ผลการศึกษาการทดลองการใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้ TONKHORS MODEL โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.48
4. ผลการศึกษา การประเมินความพึงพอใจรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้ TONKHORS MODEL โรงเรียนรัฐประชา 509 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.54