บทคัดย่อ เรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านจับใจความ โดยใช้เทคนิคการสอนแบบ 5W1H กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลบูรพาอุบล กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ผู้รายงาน นางศิริวรรณ เตชะสุข ปีการศึกษา 2565 การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพและความต้องการด้านการจัดการเรียนการสอนการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 2) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิคการสอนแบบ 5W1H กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลบูรพาอุบล 3) เพื่อทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านจับใจความ และ 4) เพื่อประเมินชุดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านจับใจความกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ครู จำนวน 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนเทศบาลบูรพาอุบล จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 15 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) ระยะที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญ 5 คน และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 จำนวน 15 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม ระยะที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 จำนวน 15 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม และระยะที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 จำนวน 15 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม ซึ่งเป็นกลุ่มทดลองใช้นวัตกรรมกลุ่มเดี่ยวในระยะที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการจัดการเรียนการสอนการอ่านจับใจความสำหรับครู จำนวน 1 ฉบับ และแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการจัดการเรียนการสอนการอ่านจับใจสำหรับนักเรียน จำนวน 1 ฉบับ, ชุดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิคการสอนแบบ 5W1H กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3, แบบประเมินชุดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านจับใจความสำหรับผู้เชี่ยวชาญ, แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้การอ่านจับใจความ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .91, และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้จากชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .82 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ และสถิติทดสอบที ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยได้พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านจับใจความ โดยใช้สาระที่ 1 การอ่าน มาตรฐาน ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน และสาระที่ 5 วรรณคดีและวรรณกรรม มาตรฐาน ท 5.1 เข้าใจและ แสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่าและนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลบูรพาอุบล ซึ่งเป็นกลุ่มนักเรียนที่ผู้วิจัยสอน โดยพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิคการสอนแบบ 5W1H รูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่ควรจัดให้เหมาะกับการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เนื้อหาเป็นเรื่องที่นักเรียนสนใจ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ควรให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยการฝึกทักษะการอ่านจับใจความจากกิจกรรมในชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ทั้งการเรียนรู้ด้วยตนเอง และกิจกรรมกลุ่ม การใช้เทคนิคการสอนแบบ 5W1H การวัดและประเมินผลการเรียนรู้จากชุดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านจับใจความ ควรมีการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงจากการปฏิบัติของนักเรียน ตรวจจากผลงานของนักเรียนทั้งจากผลงานกลุ่ม หรือรายบุคคล การทำแบบฝึกหัด และการทำแบบทดสอบ 2. คุณภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิคการสอนแบบ 5W1H กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (X-bar = 4.57) และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 837/87.25 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 3. นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. นักเรียนมีพัฒนาการโดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงมาก (มีค่าเฉลี่ยของคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ เท่ากับ 77.72) และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิคการสอนแบบ 5W1H กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวม มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (X-bar = 4.64, S.D.= 0.08)