โรงเรียนเมืองพัทยา ๑๑ (มัธยมสาธิตพัทยา)
การวิเคราะห์เนื้อหาและกระบวนการให้สอดคล้องตัวชี้วัดของหลักสูตร
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
สาระที่ ๒ การเขียน
มาตรฐาน ท ๒.๑ ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด ท ๒.๑ ม. ๒/๓ เขียนเรียงความ
ท ๒.๑ ม. ๒/๘ มีมารยาทในการเขียน
ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
มาตรฐานด้านเนื้อหา(Content Standards)
มาตรฐานด้านกระบวนการ(Performance Standards)
คุณลักษณะอันพึงประสงค์/เจตคติ(ค่านิยม ๑๒ ประการ)
ท ๒.๑ ม. ๒/๓ เขียนเรียงความ
ท ๒.๑ ม. ๒/๘ มีมารยาทในการเขียน
– การเขียนเรียงความเกี่ยวกับประสบการณ์
– มารยาทในการเขียน
๑. ความหมายของ เรียงความ
๒. องค์ประกอบของการเขียนเรียงความ
๓. ขั้นตอนการเขียนเรียงความ
๔. ตัวอย่างการเขียนเรียงความ
๕. มารยาทในการเขียน
๑. บอกความหมายของเรียงความ
๒. บอกองค์ประกอบของการเขียนเรียงความ
๓. อธิบายหลักการเขียนเรียงความ
๔. ปฏิบัติกิจกรรมที่ ๑เรื่องการเขียนเรียงความ
อย่างร่วมมือรวมพลัง และมุ่งมั่นในการทำงาน
๕. ยกตัวอย่างการเขียนเรียงความ
๖. นักเรียนเขียนเรียงความเกี่ยวกับประสบการณ์คนละ ๑ เรื่องและมีมารยาทในการเขียนแล้วนำผลงานไปเผยแพร่ ผ่านFacebook กลุ่มปิด
– มุ่งมั่นในการทำงาน
– มีมารยาทในการเขียน
แผนการจัดการเรียนรู้รายครั้ง
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การเขียนเรียงความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
รายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน ๓ รหัสวิชา ท ๒๒๑๐๑ เวลาสอน ๒ ชั่วโมง ครูอาทิตยา กรรณิกา ครูผู้สอน
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
สาระที่ ๒ การเขียน
มาตรฐาน ท ๒.๑ ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียน เรื่องราวใน
รูปแบบต่างๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด ท ๒.๑ ม. ๒/๓ เขียนเรียงความ
ท ๒.๑ ม. ๒/๘ มีมารยาทในการเขียน
๑. วัตถุประสงค์ เมื่อจบบทเรียนแล้ว
๑. บอกความหมายการเขียนเรียงความได้
๒. บอกองค์ประกอบของการเขียนเรียงความได้
๓. อธิบายขั้นตอนการเขียนเรียงความได้
๔. ปฏิบัติกิจกรรม เรื่องการเขียนเรียงความอย่างร่วมมือรวมพลังและมุ่งมั่นในการทำงานได้
๕. ยกตัวอย่างการเขียนเรียงความได้
๖. นักเรียนเขียนเรียงความเกี่ยวกับประสบการณ์คนละ ๑ เรื่องแล้วนำผลงานไปเผยแพร่ ผ่าน Facebook กลุ่มปิดได้
๗. เป็นผู้มึความมุ่งมั่นในการทำงานและมีมารยาทในการเขียน
๒. สาระการเรียนรู้
๒.๑ ความรู้
เรียงความ หมายถึง งานเขียนร้อยแก้วชนิดหนึ่งที่ผู้เขียนมุ่งถ่ายทอดเรื่องราว ความรู้ ความคิด และทัศนคติในเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยถ้อยคำ และสำนวนที่เรียบเรียงอย่างมีลำดับชั้นและสละสลวย
องค์ประกอบของเรียงความ
เรียงความมีองค์ประกอบ ๓ ส่วน คือคำนำ เนื้อเรื่องและสรุป
๑. คำนำ เป็นส่วนแรกของเรียงความ ทำหน้าที่เปิดประเด็นหรือนำเข้าสู่เรื่องที่จะเขียน จึงอาจกล่าวได้ว่า คำนำ
เป็นส่วนที่ดึงดูดความสนใจและทำให้ผู้อ่านเกิดความอยากรู้และต้องติดตาม
๒. เนื้อเรื่อง เป็นส่วนสำคัญและเป็นส่วนที่ยาวที่สุดของเรียงความ เพราะเนื้อเรื่องเป็นส่วน ที่นำความรู้ ความคิด และข้อมูลที่ผู้ขียนได้ค้นคว้า และเรียบเรียงอย่างมีระบบระเบียบ เป็น ขั้นตอนเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจความคิดสำคัญ ทั้งหมดของเรื่องได้อย่างชัดเจนและแจ่มแจ้ง
๓. สรุป เป็นองค์ประกอบสำคัญที่อยู่ส่วนสุดท้ายของเรียงความ ผู้เขียนจะทิ้งท้ายให้ผู้อ่านเกิดความประทับใจ การสรุปควรมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับเรื่องที่เขียน ไม่ควรสรุปนอกเรื่องหรือนอกประเด็น
ขั้นตอนการเขียนเรียงความ
๑.การเลือกเรื่องโดยทั่ว ไปครูมกำหนดหัวข้อเรื่องให้นกัเรียนเขียนเรียงความแต่ถ้าหาก นักเรียนจะต้องเป็นผู้เลือกเรื่องเองแล้ว นักเรียนควรจะเลือกเรื่องตามความชอบหรือความถนัดของตน ไม่ควรเลือกเรียงที่ยากจนเกินไป หรือหาข้อมูลไม่ได้เพียงพอ
๒.การค้นคว้าหาข้อมูล อาจทำได้โดยการค้นคว้าจากหนังสือ นิตยสาร วารสาร หรือสื่อ อื่นๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ และอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
๓.การวางโครงร่าง เมื่อได้หัวข้อเรื่องที่จะเขียนรียงความแล้ว ผู้เขียนจะต้องวางโครงเรื่อง โดยคำนึงถึงการจัดลำดับหัวข้อเรื่องที่จะเขียนให้สัมพันธ์ต่อเนื่องกัน
๔. การเรียบเรียงตามรูปแบบของเรียงความ คือการเขียนคำนำ เนื้อเรื่อง สรุป
มารยาทในการเขียน
๑. เขียนสะกดคำให้ถูกต้อง และเขียนด้วยลายมือบรรจง
๒. เลือกใช้ถ้อยคำที่สื่อความหมายชัดเจน และเป็นคำสุภาพ
๓. ลำดับความในการเขียนให้ต่อเนื่อง ถ้าเป็นงานเขียนที่มีรูปแบบเฉพาะต้องเขียนให้ถูกต้องตามรูปแบบนั้น
๔. มีความปรารถนาดี และจริงใจในการเขียน มุ่งให้ผู้อ่านได้มีความรู้ และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เป็นประโยชน์แก่สังคม
๕. การยกข้อความอันเป็นงานเขียนของผู้อื่นมาใส่ในงานเขียนของตนต้องบอกแหล่งที่มาให้ชัดเจน
๖. ไม่ควรเขียนข้อความที่เป็นเท็จให้อื่นได้รับความเดือดร้อน
๒.๒. ทักษะกระบวนการ
๒.๑ ความสามารถในการสื่อสาร
– การฟัง พูด อ่าน เขียน
๒.๒ ความสามารถในการคิด
– วิเคราะห์ สังเคราะห์ ระบุ สังเกต ตีความหมาย การประยุกต์
๒.๓ ความสามารถในการแก้ปัญหา
– นำข้อมูลสารสนเทศมาประยุกต์ความรู้ในการตัดสินใจ
๒.๔ ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
– การทำงานกลุ่ม
– เรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
๒.๕ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
– สืบค้นข้อมูลบนฐานคอมพิวเตอร์
๒.๓ คุณลักษณะอันพึงประสงค์
– มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
– มีมารยาทในการเขียน
๒.๔ ผลผลิต/ชิ้นงานสู่ตัวชี้วัด
นักเรียนเขียนเรียงความเกี่ยวกับประสบการณ์คนละ ๑ เรื่อง แล้วนำผลงานไปเผยแพร่ลงใน
เฟสบุ๊คกลุ่ม เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
๓. กิจกรรมการเรียนรู้ (๕ ขั้นตอน)
๓.๑ ขั้นตอนการเรียนการสอน
ขั้นที่ ๑ เสนอสิ่งเร้าและระบุคำถามสำคัญอย่างใฝ่เรียนรู้
๑) เสนอสิ่งเร้าโดยให้นักเรียนอ่านตัวอย่างเรียงความ แล้วร่วมกันสังเกตวิเคราะห์เรื่องที่อ่าน
๒) ครูตั้งคำถามสำคัญเพื่อให้นักเรียนคาดคะเนคำตอบอภิปรายร่วมกันด้วยวิธี think-pair-share ดังนี้
๒.๑ จากตัวอย่างบทอ่านเป็นลักษณะการเขียน รูปแบบใด (เรียงความ)
๒.๒ เรียงความ หมายถึงอะไร (งานเขียนร้อยแก้วชนิดหนึ่งที่ผู้เขียนมุ่งถ่ายทอดเรื่องราว ความรู้ ความคิด และทัศนคติในเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยถ้อยคำ และสำนวนที่เรียบเรียงอย่างมีลำดับชั้นและสละสลวย)
๒.๓ องค์ประกอบของการเขียนเรียงความมีอะไรบ้าง (คำนำ เนื้อเรื่อง สรุป)
๒) ให้แต่ละกลุ่มอภิปรายและอธิบายในสิ่งที่คาดคะเนของนักเรียน จากคำถามข้างต้น
ขั้นที่ ๒ รวมพลังแสวงหาสารสนเทศอย่างฉลาดรู้และวิเคราะห์อย่างรอบคอบ
๒.๑ ให้นักเรียนเข้ากลุ่ม กลุ่มละ ๔ คน ซึ่งคละเพศ คละความสามารถ ร่วมกันปฏิบัติตามใบกิจกรรมที่ ๑ เรื่อง การเขียนเรียงความ โดยครูใช้เทคนิคทำเป็นกลุ่ม – ทำเป็นคู่และทำคนเดียว(Team- pair- solo)
๒.๒ ให้นักเรียนนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ร่วมกัน โดยครูใช้คำถามเพื่อกระตุ้นความคิดของนักเรียนแต่ละกลุ่ม และตรวจสอบการวางแผนการสืบสอบหาข้อมูล (ตามคำถามของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง) ดังนี้
๑. นักเรียนมีจุดมุ่งหมายการทำงานในครั้งนี้อย่างไร(การกำหนดจุดมุ่งหมาย)
๒. นักเรียนต้องใช้ความรู้ กระบวนการหรือแหล่งสืบค้นใดบ้างเพื่อทำการศึกษาในครั้งนี้(การพิจารณา เงื่อนไขด้านความรู้)
๓. นักเรียนมีการทำงานเป็นลำดับขั้นตอนอย่างไรที่ทำให้งานสำเร็จ(ใช้ความรู้หลักเหตุผลและคุณธรรมในการคิดตามขั้นตอน)
๔. ในการทำงานเมื่อเกิดปัญหา จะแก้ไขอย่างไร (ใช้หลักคิดพอประมาณ)
ขั้นที่ ๓ รวมพลังอภิปรายและสร้างความรู้ตามวิถีประชาธิปไตย
๓.๑ ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนองานตามใบกิจกรรมที่ ๑ การเขียนเรียงความ
หน้าชั้นเรียน จากนั้นนักเรียนร่วมกันสรุปผลการนำเสนอของแต่ละกลุ่มแล้วนำมาแลกเปลี่ยนกัน ครูเพิ่มเติมเชื่อมโยงความรู้ที่ถูกต้องให้กับนักเรียน
๓.๒ นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันปฏิบัติตามใบกิจกรรมที่ ๒ เรื่อง การเขียนโครงเรื่องการเขียนเรียงความ เทคนิคทำเป็นกลุ่ม – ทำเป็นคู่และทำคนเดียว(Team- pair- solo)
๓.๓ นักเรียนนำเสนอการวางโครงเรื่องในการเขียนเรียงความ หน้าชั้นเรียน จากนั้นครูเพิ่มเติมเชื่อมโยงความรู้ที่ถูกต้องให้กับนักเรียนแต่ละกลุ่ม
๓.๔ นักเรียนแต่ละกลุ่มฝึกเขียนเรียงความ เรื่อง น้ำ จากใบกิจกรรมที่ ๒ จากนั้นนำเสนอผลการเขียนเรียงความหน้าชั้นเรียน ครูให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเขียนเรียงความของนักเรียน
ขั้นที่ ๔ รวมพลังสื่อสารด้วยภาษาสากลและสะท้อนคิด
๔.๑ ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอ สะท้อนคิดข้อดี ข้อปรับปรุง สิ่งสงสัย จากการปฏิบัติกิจกรรมใบงานที่ ๑ และ ๒ โดยให้แต่กลุ่มสะท้อนคิดประเด็นต่อไปนี้ (ตามคำถามของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง) เทคนิคทำเป็นกลุ่ม – ทำเป็นคู่และทำคนเดียว(Team- pair- solo) ดังนี้
๑. งานสำเร็จเพียงใด ต้องการปรับอะไรอีก
๒. สิ่งที่นักเรียนประทับใจ สิ่งที่ต้องการเพิ่มเติมปรับแก้หรือพัฒนา
๓. ได้บทเรียนสำคัญอะไรบ้าง
ขั้นที่ ๕ รวมพลังประยุกต์สร้างนวัตกรรมเพื่อความเป็นเลิศและตอบแทนสังคม
๑) ครูให้นักเรียนเขียนเรียงความเกี่ยวกับประสบการณ์คนละ ๑ เรื่อง แล้วนำผลงานไปเผยแพร่ลงในเฟสบุ๊คกลุ่ม เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน
๓.๒ สื่อการเรียนรู้/แหล่งการเรียนรู้
๑. หนังสือเรียนภาษาไทย ชุดทักษะพัฒนา เล่ม 2
๒. หนังสือหลักภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ของกระทรวง
๓. ตัวอย่างเรียงความ
๔. DLTV มูลนิธิการศึกาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมป์
๕. http://www.thaichcool.in.th
๔. การประเมินการเรียนรู้
๑. ประเมินความรู้และความเข้าใจด้วยปากเปล่า
๒. ประเมินกิจกรรมการทำงานกลุ่มอย่างรวมพลังด้วยแบบประเมิน
๓. ประเมินผลงานการเขียนเรียงความด้วยแบบประเมิน
๔. ประเมินคุณลักษณะและค่านิยมด้านเป็นผู้มีความมุ่งมั่นในการทำงานและมารยาทในการเขียนด้วยแบบประเมิน
ภาคผนวก
๑. ใบกิจกรรมที่ ๑ เรื่อง การเขียนเรียงความ
๒. ใบกิจกรรมที่ ๒ เรื่อง การวางโครงเรื่องในการเขียนเรียงความ
๓. ใบสรุปความรู้ เรื่อง การเขียนเรียงความ
๔. แบบประเมินผลงานเรื่องการเขียนเรียงความ
๕. แบบประเมินการทำงานกลุ่มอย่างรวมพลัง
๖. แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านด้านเป็นผู้มีความ มุ่งมั่นในการทำงานและมารยาทในการเขียน