เผยแพร่ผลงานวิชาการ วิจัยในชั้นเรียนเรื่องการส่งเสริมทักษะการเขียนตัวเลขเป็นภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  โรงเรียนเบญจลักษ์พิทยา

เผยแพร่ผลงานวิชาการ วิจัยในชั้นเรียนเรื่องการส่งเสริมทักษะการเขียนตัวเลขเป็นภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  โรงเรียนเบญจลักษ์พิทยาหมวดหมู่: เผยแพร่ผลงานวิชาการเผยแพร่ผลงานวิชาการ วิจัยในชั้นเรียนเรื่องการส่งเสริมทักษะการเขียนตัวเลขเป็นภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  โรงเรียนเบญจลักษ์พิทยา

รายงานการวิจัยในชั้นเรียน
ชื่อเรื่อง การส่งเสริมทักษะการเขียนตัวเลขเป็นภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 
โรงเรียนเบญจลักษ์พิทยา
ชื่อผู้วิจัย นางสาวกนกวรรณ  เคนสิน
สอนวิชา ภาษาอังกฤษ  รหัสวิชา อ 22102  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
        เนื่องจากการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษนั้น  มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่นักเรียนจะต้องมีพื้นฐานความรู้ทางด้านกระบวนการทักษะทั้ง ๔ คือ จะต้องสามารถฟัง พูด อ่าน และเขียน ตัวเลขเป็นภาษาอังกฤษได้  เพราะหากว่าถ้านักเรียนขาดทักษะกระบวนการทักษะด้านใดด้านหนึ่งแล้ว  ก็จะเป็นปัญหาที่สำคัญมากแก่ผู้เรียนและครูผู้สอน  เพราะจะทำให้การเรียนการสอนขาดประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาวิชานี้ไม่ดีเท่าที่ควร
จากการที่ได้สอนนักเรียนระดับชั้น  พบว่านักเรียนได้เรียนเนื้อหาเกี่ยวกับระบบจำนวนและมีจำนวนนักเรียนบางคนขาดทักษะกระบวนการเขียนอยู่  ดังนั้นจึงเห็นควรนำนักเรียนที่ยังขาดทักษะนี้มาทำการวิจัยในชั้นเรียน
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
          เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความสามารถในทักษะกระบวนการเขียนตัวเลขเป็นภาษาอังกฤษ
ได้เพิ่มขึ้นจาก 50 % เป็น 80 %

วิธีดำเนินการวิจัย

  1. ประชากร / กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา .นักเรียนชั้นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเบญจลักษ์พิทยา ปีการศึกษา 2566 กลุ่มตัวอย่าง

จำนวน 21 คน

  1. เครื่องมือการวิจัย

2.1  เครื่องมือในการแก้ปัญหา

  1. แบบทดสอบวัดความรู้ก่อนเรียน (Pre-Test)
  2. แบบฝึกหัดเกี่ยวกับกระบวนการทักษะการอ่าน และการเขียน
  3. แบบทดสอบวัดความรู้หลังเรียน (Post-Test)
    • เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
  4. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูลโดย

วิเคราะห์ผู้เรียน  การวิเคราะห์ผู้เรียนได้กำหนดไว้ดังนี้
ประชากร  คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2566  โรงเรียนเบญจลักษ์พิทยา จำนวน 21 คน
             
 
 วิเคราะห์เนื้อหา  ขั้นตอนดำเนินการมีดังนี้
เนื้อหาที่จะใช้สร้างแบบทดสอบและแบบฝึกหัด  คือเนื้อหาเกี่ยวกับระบบจำนวนคำศัพท์ที่ใช้ในการทดลองเป็นคำศัพท์เกี่ยวกับจำนวนตัวเลขตั้งแต่ 0-100,000,000 ของนักเรียนระดับชั้นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  โรงเรียนเบญจลักษ์พิทยา โดยผู้วิจัยได้จัดแบ่งตามค่าประจำหลักดังนี้ เก็บข้อมูลจากนักเรียนชั้นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 
โรงเรียนเบญจลักษ์พิทยา ปีการศึกษา 2566   กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 21 คน
 

  1. สถิติที่ใช้ และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล

       4.1 หาค่าร้อยละ ของแบบฝึกหัด ที่ 1-4 และค่าของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน  
ผลการวิจัย
          จากการศึกษาวิจัยในชั้นเรียนครั้งนี้  สามารถวิเคราะห์ผลได้ดังนี้
ผลการวิเคราะห์จากคะแนนแบบฝึกหัดทั้ง 4 ฉบับ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ตารางที่ 1 แสดงผลคะแนน(%)แบบฝึกหัดทั้ง 4 ฉบับ

ลำดับที่

ชื่อ-นามสกุล

แบบฝึกหัดที่ 1 (%)

แบบฝึกหัดที่ 2 (%)

แบบฝึกหัดที่ 3 (%)

แบบฝึกหัดที่ 4 (%)

1.

เด็กหญิงพัชรภา  พรมโฮม

80

80

90

80

2.

เด็กชายรุ่งคุณ  บรรเทา

90

90

80

90

3.

เด็กชายลาภิศ  กันหารินทร์

100

90

100

100

4.

เด็กชายวราฤทธิ์  จันแก้ว

80

90

80

80

5.

เด็กชายวีรพัฒน์  สีเหลือง

90

90

80

90

6.

เด็กชายสรวิศ  พวงจำปา

70

70

70

70

7.

เด็กชายสุรเกียรติ  ศรีภักดี

80

80

80

80

8.

เด็กชายอติชาต  วงศ์ใหญ่

70

70

80

70

9.

เด็กชายอภิชาติ  เรือนรส

60

60

60

90

10.

เด็กชายอภิเดช  แสวง

100

100

90

90

11.

นางสาวรัตน์ติกาน  มะโนธรรม

80

80

80

90

12.

เด็กหญิงรัตนา  บุญเกิ่ง

90

80

70

80

13.

เด็กหญิงวนิดา  จินดาศรี

100

100

90

100

14.

เด็กหญิงศิรประภา  จันลาวงษ์

80

80

80

70

15.

เด็กหญิงสุพัฒตรา  พันเนตร

90

90

90

90

16.

เด็กหญิงสุพิดชา  ชนะจิตร

90

90

80

90

17.

เด็กหญิงสุวิมล  จำปาแดง

90

90

90

90

18.

เด็กหญิงจรัญญา  ดวงจันทร์

80

80

90

80

19.

เด็กชายวุฒิชัย  ดิษสุนนท์

70

70

90

70

20.

เด็กหญิงปาลิตา  โยธา

80

80

90

80

21.

เด็กชายประกาศิต  วงค์ใหญ่

100

90

100

100

ค่าเฉลี่ย

 

 

84.28

83.33

83.80

84.76

 
 
 
 
 
 
 

 
จากตารางที่ 1 แบบฝึกหัดทั้ง 5 ประกอบไปด้วย

  • แบบฝึกหัดที่ 1 เรื่องตัวเลข 1-100 จำนวน 20 ข้อ  (10 คะแนน)
  • แบบฝึกหัดที่ 2 เรื่องตัวเลข 1-100 จำนวน 10 ข้อ (10 คะแนน)
  • แบบฝึกหัดที่ 3 เรื่องตัวเลข 100-100,000,000 จำนวน 20 ข้อ (10 คะแนน)
  • แบบฝึกหัดที่ 4 เรื่องตัวเลข 100-100,000,000 จำนวน 20 ข้อ (10 คะแนน)

 
 
 
อภิปรายผล
          จากการสร้างแบบฝึกหัดการเขียนตัวเลขเป็นภาษาอังกฤษในครั้งนี้สามารถอภิปรายผลได้ดังนี้
1.สังเกตได้ว่านักเรียนสามารถพัฒนาความรู้ ความจำมากขึ้น
โดยดูผลการเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน
2.จากการวิจัยครั้งนี้ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้ศัพท์ภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น
3.จะเห็นได้ว่าเมื่อนักเรียนได้รับการสอนที่เน้นย้ำในจุดที่นักเรียนมักจะสับสนหรือผิดพลาดบ่อย ๆ
          ทำให้นักเรียนผิดพลาดน้อยลง
ข้อเสนอแนะ

  1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้

ในการสร้างแบบฝึกควรจะใช้รูปแบบเกมที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกาย  จะทำให้นักเรียนที่ชอบวิชาพละหรือชอบออกกำลังกาย  ได้หันมาสนใจในวิชาคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น

  1. ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป

     ในการวิจัยครั้งต่อไปควรมีเวลาในการพบและติดตามผลจากนักเรียนมากกว่านี้