บทคัดย่อ ชื่อผลงานวิจัย รูปแบบการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างเสริมสมรรถนะ ด้านทักษะอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 ชื่อผู้วิจัย ดร.เมตตา แสวงลาภ ปีที่วิจัยแล้วเสร็จ ปี พ.ศ. 2567 การวิจัยเรื่อง รูปแบบการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างเสริมสมรรถนะด้านทักษะอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการในการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างเสริมสมรรถนะด้านทักษะอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างเสริมสมรรถนะด้านทักษะอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างเสริมสมรรถนะด้านทักษะอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างเสริมสมรรถนะด้านทักษะอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed-Methods ) ระหว่างการวิจัยในเชิงปริมาณ (Quantitative Approach)และเชิงคุณภาพ (Qualitative Approach) มีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการในการสร้างเสริมสมรรถนะด้านทักษะอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างเสริมสมรรถนะด้านทักษะอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างเสริมสมรรถนะด้านทักษะอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างเสริมสมรรถนะด้านทักษะอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูฝ่ายวิชาการ ครูฝ่ายแนะแนว ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับตามวิธีของลิเคิร์ท (Likert scale) ประเด็นสนทนากลุ่ม ประเด็นการประชุมเชิงปฏิบัติการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างเสริมสมรรถนะด้านทักษะอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 พบว่า สภาพการบริหารสถานศึกษามีค่าระหว่างปานกลางถึงน้อย โดยในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย( = 2.46, = 0.75) สภาพการจัดการเรียนรู้มีค่าระหว่างปานกลางถึงน้อยที่สุด โดยในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ( = 2.38, = 0.73) และสภาพปัจจุบันและความต้องการในการสร้างเสริมสมรรถนะด้านทักษะอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาก่อนการพัฒนา พบว่า ค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นสูงทั้ง 6 สมรรถนะ 2. ผลการสร้างรูปแบบการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างเสริมสมรรถนะด้านทักษะอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 พบว่า ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. หลักการและเหตุผล 2. วัตถุประสงค์ 3. รูปแบบการพัฒนาการบริหารสถานสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านทักษะอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการของนักเรียน 4. วิธีดำเนินการตามรูปแบบฯ และ 5. การกำกับติดตามและประเมินผล ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างเสริมสมรรถนะด้านทักษะอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 พบว่าอยู่ในระดับการปฏิบัติมากที่สุด( = 4.63, = 0.48) ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างเสริมสมรรถนะด้านทักษะอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 ด้านความเป็นประโยชน์(Utility Standards) ด้านความเป็นไปได้ (Feasibility Standards) ด้านความเหมาะสม (Propriety Standards) และด้านความถูกต้องครอบคลุม (Accuracy Standards) พบทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด คำสำคัญ : รูปแบบการพัฒนาการบริหารสถานศึกษา , สมรรถนะด้านทักษะอาชีพและการเป็น ผู้ประกอบการ ,โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา