บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารสถานศึกษาโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนบ้านบางปิ้ง 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนบ้านบางปิ้ง 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนบ้านบางปิ้ง 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนบ้านบางปิ้ง กลุ่มเป้าหมาย คือ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน
ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) แล้วทำการสุ่มอย่างง่าย ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 217 คน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยความร่วมมือของภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนบ้านบางปิ้ง โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 26 คน ใช้วิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เป็นผู้ให้ข้อมูลในการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 13 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน แบบบันทึกร้อยละของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบบันทึกร้อยละของคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน แบบบันทึกร้อยละของสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตรฯ แบบบันทึกร้อยละของทดสอบสมรรถภาพทางกาย และแบบประเมินพฤติกรรม (SDQ) สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันในการดำเนินการการบริหารสถานศึกษาโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนบ้านบางปิ้ง โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และการจัดลำดับความต้องการจำเป็นในการดำเนินการ โดยภาพรวม มีค่าเท่ากับ 0.59 2) การสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนบ้านบางปิ้ง ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน (1) ด้านการวางแผน (P- Plan) (2) ด้านการดำเนินงาน (D-Do) (3) ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม (S – Supervision) (4) ด้านการประเมินผลเพื่อพัฒนาในการสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ (E – Evaluation) (5) ด้านผลลัพธ์และการรายงานผล (R-Result & Report) 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนบ้านบางปิ้ง พบว่า ในภาพรวมปีการศึกษา 2566 มีผลพัฒนาขึ้นกว่าปีการศึกษา 2565 ทุกด้านและมีผลการประเมินความพึงพอใจ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 4) ผลการประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนบ้านบางปิ้ง พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ด้านมาตรฐานความเป็นไปได้ รองลงมา ได้แก่ ด้านมาตรฐานด้านความเป็นประโยชน์
คำสำคัญ: ความร่วมมือ, ภาคีเครือข่าย , คุณภาพผู้เรียน