รายงานการใช้ รายงานผลการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ฯ
ผู้รายงาน นางสาววิมลพรรณ ดาวดาษ
โรงเรียน วัดบัวสุวรรณประดิษฐ์
ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ฯ มีความมุ่งหมายเพื่อสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ฯ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียน จากการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ฯ ที่สร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดบัวสุวรรณประดิษฐ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 33 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ตัวแปรอิสระ คือ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ฯ ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ฯ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ คู่มือการใช้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย ค่าสถิติที และการวิเคราะห์เนื้อหา โดยมีการสรุปรายงาน อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
ผลการศึกษา พบว่า
- ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ฯ มีค่า E1/E2 เท่ากับ 87.39/81.38 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ปรากฏว่าชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ฯ ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน จากการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ฯ พบว่า คะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05