การสร้างสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมกระดาษสา

แพรใจ asked 1 เดือน ago

 
การสร้างสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมกระดาษสา
จากฟางข้าวเพื่อลดการเผาไหม้มลพิษของชุมและสังคม
หลักการและเหตุผล
       ในปัจจุบันมีสิ่งประดิษฐ์มากมายเกิดขึ้นในโลกของเรา โดยเฉพาะเทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ จีกรยานยนต์ โทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ เป็นต้นเหตุ ทำให้สังคมของคนไทยนั้นเปลี่ยนไปกลายเป็นยุคไอทียุคทันสมัยขึ้นมาอย่างรวดเร็ว แน่นอนว่ายิ่งมีสิ่งประดิษฐ์มากขึ้น ย่อมต้องมีคนต้องการมากขึ้นและผลที่ตามมาก็คือใช้ทรัพยากรมากขึ้น ทำให้สภาพแวดล้อมแย่ลง ทั้งหมดนี้เป็นเพราะเรานั้นลืมวัฒนธรรมเก่าๆสมัยก่อน คำนึงถึงแต่ตัวเองโดยที่ไม่ได้รักษาเก็บเอาไว้ เพื่อเป็นการนำวัสดุกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์  เป็นการสร้างคุณค่าและเกิดทักษะในการประดิษฐ์ต่อนักเรียนนักศึกษา  และสามารถเผยแพร่สิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมให้กับบุคคลที่มีความสนใจในสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมจาดฟางข้าวเป็นการลดมลพิษการเผาไหม้ของชุมชนและสังคม  อีกยังเป็นการส่งเสริมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับสังคมและประเทศชาติอีกด้วย
 
วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเป็นการฝึกทักษะการประดิษฐ์ให้กับนักเรียนนักศึกษาและสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้และ

เพื่อให้ผู้ศึกษาโครงงานนี้ได้รู้วิธีการทำกระดาษสา องค์ประกอบในการทำกระดาษสา

  1. เพื่อให้ผู้ศึกษาโครงงานสามารถนำความรู้เหล่านี้ไปเผยแพร่แก่บุคคลอื่นได้
  2. เพื่อให้ผู้ศึกษาโครงงานสามารถใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และสามารถเป็นรายได้แก่ตนเองเพื่อเป็นการลดการเผาไหม้ไม่สร้างมลพิษและทำลายสิ่งแวดล้อมของสังคมและประเทศชาติ

 
 เป้าหมายของโครงการ

  1. การนำผลงานส่งเข้าประกวดการแข่งขันทักษะวิชาชีพ ประเภทสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรม
  2. การเผยแพร่สิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมให้กับบุคคลที่มีความสนใจในสิ่งประดิษฐ์กระดาษสาจากฟางข้าวที่เหลือใช้มาประดิษฐ์ให้เกิดประโยชน์รายได้
  3. การนำสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมกระดาษสาจากฟางข้าว นำมาจัดผลงานกิจกรรมทางวิชาการของทางวิทยายัยอาชีวศึกษาเทศบาลเมืองหนองคายจัดขึ้นเพื่อลดค่าใช้จ่ายและสามารถเพิ่มรายได้จากกระดาษสาที่ทำจากฟางข้าว

 
 
 
 
 
 
 
 
ขั้นตอนในการสร้างวัตกรรมกระดาษสา

  1. นักเรียนนักศึกษาและคณะครูประชุมปรึกษาวางแผนการทำกระดาษสาจากฟางข้าว
  2. นำฟางข้าวที่เตรียมมานำมาล้างทำความสะอาดและนำไปแช่น้ำ 1 คืน การแช่น้ำจะทำให้ฟางข้าวอ่อน 
  3. นำฟางข้าวที่แช่น้ำ 1  คือใส่ภาชนะต้มและใส่โซดาไฟลงไป  เพื่อช่วยให้ฟางข้าวเปื่อยได้ง่าย  ต้ม 4-5  ชั้วโมง
  4. นำฟางข้าวที่ต้มจนเปื่อยมากรองน้ำออก แล้วนำมาปั่นและล้างกรองน้ำออก  ให้เหลือแต่เยื่อ
  5. นำเฟรมกระดาษลงไปแช่น้ำในถังที่เตรียมไว้ แล้วเอาเยื่อฟางข้าวมาล่ะลายในแผ่นเฟรมให้ทั่วกัน  ถ้าเราอยากให้กระดาษหนาให้ใส่เยื่อฟางไป  7  ขีด  ถาอยากให้กระดาษบางใส่เยื่อไป  5  ขีด
  6. นำเฟรมกระดาษสาหรือพิมพ์มาตากแดกให้แห้ง แห้งแล้วสามารถนำมาใช้งานได้

 
เวลาที่ใช้ในการประดิษฐ์   10  ชั่วโมง

  1. การประชุมวางแผน 1  ชั่วโมง
  2. การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ 2 ชั่วโมง
  3. การทำกระดาษสา    5  ชั่วโมง
  4. เช็คความเรียบร้อย 2  ชั่วโมง

 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ/ประโยชน์ในการประดิษฐ์วัตกรรมในครั้งนี้

  1. นักเรียนได้ฝึกทักษะการประดิษฐ์และสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตได้จริง
  2. กระดาษสาสามารถใช้ประโยชน์ในวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลเมืองหนองคายและลดค่าใช้จ่ายได้
  3. เป็นการนำวัสดุที่ใช้แล้วนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์สามารถนำมาใช้งานได้อีกครั้งซึ่งเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมของสังคมและประเทศชาติ