การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยใช้ KONGSANIT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยใช้ KONGSANIT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1หมวดหมู่: เผยแพร่ผลงานวิชาการการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยใช้ KONGSANIT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ครูเชียงรายดอทเน็ต ทีมงาน asked 1 เดือน ago

บทคัดย่อ

 

ชื่อเรื่อง                 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยใช้ KONGSANIT Model

เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ

ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผู้วิจัย                    นางรันณ์ธร  คงสนิท

ตำแหน่ง                ครู  วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ

โรงเรียนเทศบาลบ้านกิโลสอง

สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองอรัญญประเทศ

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย

ปีที่วิจัย                2567

 

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยใช้ KONGSANIT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถ          ในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อพัฒนาและ         หาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยใช้ KONGSANIT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน                   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์          โดยใช้ KONGSANIT Model 4) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยใช้ KONGSANIT Model 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน                  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยใช้ KONGSANIT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ จำนวน 5 คน และครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ จำนวน 4 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และ            2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลบ้านกิโลสอง สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองอรัญญประเทศ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 40 คน โดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random Sampling Sampling) เครื่องมือ            ที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอน 2) แผนการจัดการเรียนรู้                  3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติคำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน () การทดสอบหาค่าที (t – test) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)

 

             ผลการวิจัยพบว่า

  1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า “KONGSANIT Model” โดยมีองค์ประกอบดังนี้ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระความรู้ ทักษะสิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง สิ่งสนับสนุน รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีกระบวนการสอน 6 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเปิดรับความรู้สนใจสิ่งใหม่ (Knowledge Open interested in new things : KO) 2) ขั้นจัดกระบวนการความคิดในการเรียนรู้ (Navigate the process of idea : N) 3) ขั้นสร้างองค์ความรู้ใหม่ (Generalize in creating new knowledge : G) 4) ขั้นการนำไปใช้ (Statement Apply to knowledge : SA) 5) ขั้นสรุปแนวคิดใหม่ (New Ideas of Summary : NI) และ  6) ขั้นความคิดรวบยอด (Thinking is essential to thinking and evaluating : T)
  2. รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยใช้ KONGSANIT Model เพื่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่สร้างขึ้นทั้งมีค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ () และค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์ () มีค่าประสิทธิภาพโดยรวม /เท่ากับ 99/82.52 มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์กำหนด 80/80 ทุกแผนการจัดการเรียนรู้
  3. ผลการเปรียบเทียบคะแนนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยใช้ KONGSANIT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าคะแนนก่อน             ใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยใช้ KONGSANIT Model ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา            ปีที่ 1 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
  4. ผลการเปรียบเทียบคะแนนทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยใช้ KONGSANIT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าคะแนนก่อนใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยใช้ KONGSANIT Model ของนักเรียน           ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
  5. ความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยใช้ KONGSANIT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด