บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา โรงเรียนเทพศิรินทร์ลาดหญ้า กาญจนบุรี มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาการบริหารตามรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ในด้านต่อไปนี้ 2.1) ผลการศึกษากระบวนการการใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา 2.2) ผลการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาหลังการใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ดำเนินการวิจัยด้วยกระบวนการวิจัยและพัฒนา ตัวอย่างที่ใช้ ประกอบด้วย 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 273 คน 2) ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 55 คน 3) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน และ 4) ผู้ปกครองของนักเรียน จำนวน 273 คน ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเทพศิรินทร์ลาดหญ้า กาญจนบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา 2) แบบประเมินคุณภาพรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา 3) แบบประเมินกระบวนการการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา 4) แบบประเมินผลการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมทักษะการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา และสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (𝑥̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1 ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ประกอบไปด้วย
1.1 องค์ประกอบและตัวชี้วัดการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ประกอบไปด้วย 6 องค์ประกอบ 32 ตัวชี้วัด ได้แก่ ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 8 ตัวชี้วัดด้านการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือ 4 ตัวชี้วัด ด้านการเฝ้าระวัง 5 ตัวชี้วัด ด้านการให้คำปรึกษา 4 ตัวชี้วัด ด้านการจัดการระบบข้อมูล 4 ตัวชี้วัด และด้านการบริหารจัดการ 7 ตัวชี้วัด
1.2 การประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวชี้วัดการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
1.3 การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ประกอบไปด้วย 7 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การสำรวจข้อมูล (Survey) เป็นขั้นตอนแรกในการเข้าถึงผู้เรียน เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานด้านครอบครัว เศรษฐกิจ การเรียนรู้และสภาพปัญหาของนักเรียนรายบุคคล และเพื่อศึกษาบริบทบริบทของโรงเรียนและชุมชน ขั้นที่ 2 การมีส่วนร่วม (Participation) ขั้นตอนนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างเครือข่ายในการทำงานร่วมกัน ขั้นที่ 3 การเฝ้าระวัง (Observe) เป็นขั้นตอนที่เข้าถึงผู้เรียนได้อย่างใกล้ชิด เพื่อเข้าใจถึงสภาพปัญหา และสาเหตุที่เกิดกับผู้เรียน ขั้นที่ 4 การพัฒนากิจกรรม (Activity) เป็นขั้นตอนการพัฒนา ออกแบบและดำเนินกิจกรรมเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน สร้างองค์ความรู้ และแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ขั้นที่ 5 การสร้างหลักปฏิบัติ (Practice) เป็นขั้นของการใช้หลักของคุณธรรม จริยธรรม ขั้นที่ 6 การสร้างทัศนคติ (Attitude) เป็นขั้นการพัฒนาด้านเจตคติของนักเรียน และขั้นที่ 7 ความสำเร็จ (Success) เป็นขั้นสุดท้ายของกระบวนการเพื่อสร้างความภูมิใจให้เกิดกับผู้เรียน เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ส่งเสริมและสนับสนุนผู้เรียนตามศักยภาพ ความถนัดหรือความสนใจของผู้เรียน
1.4 การประเมินคุณภาพของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาหลังการใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา
2.1 การประเมินกระบวนการการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก
2.2 การประเมินการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา จำแนกผลตามผู้ประเมิน ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน มีผลการประเมินในภาพรวมสอดคล้องกัน คืออยู่ในระดับดีมาก
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา จำแนกผลตามผู้ประเมิน ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน มีผลการประเมินในภาพรวมสอดคล้องกัน คืออยู่ในระดับมากที่สุด