การพัฒนากระบวนการนิเทศภายใน APDEF เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของครูโรงเรียนอนุบาลด่านซ้ายมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างกระบวนการนิเทศภายใน APDEF เพื่อเสริมสร้าง ความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนอนุบาลด่านซ้าย 2) เพื่อศึกษาผลการใช้กระบวนการ นิเทศภายใน APDEF เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนอนุบาลด่านซ้าย และ 3) เพื่อประเมินกระบวนการนิเทศภายใน APDEF เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของครูโรงเรียนอนุบาลด่านซ้าย วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 เป็นการสร้างกระบวนการ นิเทศ กลุ่มตัวอย่างเป็นครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนอนุบาลด่านซ้าย ปีการศึกษา 2564 จำนวน 44 คน ขั้นที่ 2 เป็นการศึกษาผลการใช้กระบวนการนิเทศ และขั้นที่ 3 การประเมินกระบวนการ นิเทศ กลุ่มตัวอย่างเป็นครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนอนุบาลด่านซ้าย ในปีการศึกษา 2565- 2566 จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัญหาและความต้องการ ในการพัฒนากระบวนการนิเทศเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู แบบประเมิน คุณภาพกระบวนการนิเทศ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก แบบประเมิน ความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก แบบประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และแบบสอบถาม ความคิดเห็นของครูที่มีต่อกระบวนการนิเทศภายใน APDEF เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการ เรียนรู้เชิงรุกของครู การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที สรุปผลการวิจัย 1. ผลการสร้างกระบวนการนิเทศภายใน APDEF เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการ เรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนอนุบาลด่านซ้าย 1.1 สภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนากระบวนการนิเทศภายในเพื่อ เสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนอนุบาลด่านซ้ายโดยภาพรวมอยู่ใน ระดับมากที่สุด ประเด็นที่มีสภาพปัญหาและความต้องการมากที่สุด ได้แก่ ครูจำเป็นต้องได้รับการชี้แนะ แนะนำในการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก รองลงมา ได้แก่ ตามบริบทและสภาพการจัดการศึกษา ของโรงเรียนมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการนิเทศภายในที่มีประสิทธิภาพ และการนิเทศภายในทำให้ครู ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนให้ทันต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น 1.2 กระบวนการนิเทศภายใน APDEF เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการ เรียนรู้เชิงรุกของครู ประกอบด้วย 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์สภาพปัจจุบันปัญหาและความ ต้องการ (A-Analysis) ขั้นที่ 2 การวางแผนการนิเทศ (P-Plan) ขั้นที่ 3 การปฏิบัติการนิเทศ (D-Do) ขั้นที่ 4 การประเมินผลการนิเทศ (E-Evaluation) และขั้นที่ 5 การประชุมให้ข้อมูลย้อนกลับ (F-Feedback Conference) 1.3 ผลการประเมินคุณภาพกระบวนการนิเทศภายใน APDEF เพื่อเสริมสร้าง ความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนอนุบาลด่านซ้าย ด้านความเหมาะสม ความถูกต้อง ความเป็นประโยชน์และความเป็นไปได้ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านความเหมาะสม ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ กระบวนการนิเทศภายใน APDEF ในแต่ละขั้นสอดคล้องกับกิจกรรมการเสริมสร้างความสามารถ ในการจัดการเรียนรู้ของครู ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับกิจกรรมการนิเทศของกระบวนการนิเทศภายใน APDEF เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูมีความเหมาะสม รองลงมา ได้แก่ กระบวนการนิเทศภายใน APDEF มีความสอดคล้องเหมาะสมกับแนวคิดในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ในปัจจุบัน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับมีการกำหนดขั้นตอนกระบวนการนิเทศภายใน APDEF อย่างเป็นระบบ ต่อเนื่องและสัมพันธ์กัน, คู่มือการนิเทศที่ใช้ประกอบกระบวนการนิเทศภายใน APDEF เพื่อเสริมสร้าง ความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูมีความชัดเจนเหมาะสม ด้านความถูกต้อง ประเด็นที่มี ค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ การออกแบบเครื่องมือวัดและประเมินศักยภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู มีความถูกต้องตามหลักวิชา รองลงมา ได้แก่ กระบวนการนิเทศภายใน APDEF มีหลักการครบถ้วน ตามหลักวิชาที่จะส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ มีการกำหนดวิธีการนิเทศในกระบวนการนิเทศภายใน APDEF ถูกต้องตามหลักการเสริมสร้าง ความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูสู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน, คู่มือการนิเทศที่ใช้ ประกอบในกระบวนการนิเทศภายใน APDEF เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของครูมีความถูกต้องตามหลักวิชา และกิจกรรมการนิเทศที่ใช้ในกระบวนการนิเทศภายใน APDEF เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูมีความถูกต้องตามหลักวิชา ด้านความเป็นประโยชน์ ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ คู่มือการนิเทศที่ใช้ประกอบในกระบวนการ นิเทศภายใน APDEF เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูเป็นประโยน์ต่อ การนำไปใช้ รองลงมา ได้แก่ กระบวนการนิเทศภายใน APDEF มีประโยชน์ในการเสริมสร้าง ความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูสู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับคู่มือ การนิเทศที่ใช้ในกระบวนการนิเทศภายใน APDEF เป็นประโยชน์ต่อการเสริมสร้างความสามารถในการ จัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู, ในการนำกระบวนการนิเทศภายใน APDEF ไปใช้ผู้เกี่ยวข้องมีโอกาส ให้ข้อมูลย้อนกลับที่เป็นประโยชน์ด้วยวิธีการและเครื่องมือที่หลากหลาย , มีการติดตามให้ข้อเสนอแนะ และให้ความช่วยเหลือกับผู้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องทุกขั้นตอนของกระบวนการนิเทศภายใน APDEF ด้านความเป็นไปได้ ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ กิจกรรมการนิเทศที่ใช้ในกระบวนการนิเทศ ภายใน APDEF เข้าใจง่ายสามารถนำไปปฏิบัติจริงเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของครูได้เป็นอย่างดี รองลงมา ได้แก่ กระบวนการนิเทศภายใน APDEF ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ผู้นิเทศ สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในในการจัดการเรียนรู้ของครูได้จริง ซึ่งมีค่าเฉลี่ย เท่ากับคู่มือการนิเทศที่ใช้ในกระบวนการนิเทศภายใน APDEF เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการ เรียนรู้เชิงรุกของครูเข้าใจง่ายสามารถนำไปปฏิบัติการนิเทศได้จริง, ทุกขั้นตอนของกระบวนการนิเทศ ภายใน APDEF มีการวัดและประเมินผลความสำเร็จในเชิงประจักษ์จึงมีความเป็นไปได้ในการนำไป ปฏิบัติ และกระบวนการนิเทศภายใน APDEF มีขั้นตอนที่นำไปสู่การปฏิบัติจริงเพื่อเสริมสร้าง ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูอย่างชัดเจน 2. ผลการใช้กระบวนการนิเทศภายใน APDEF เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการ เรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนอนุบาลด่านซ้าย 2.1 ผลการเปรียบเทียบคะแนนพัฒนาของครู โ ดยพิจารณาจากคะแนนการทดสอบความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก จำนวน 30 ข้อ ของครูโรงเรียนอนุบาลด่านซ้าย จำนวน 42 คน พบว่า ก่อนการอบรมเชิงปฏิบัติการ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 17.05 คิดเป็นร้อยละ 56.91 หลังการ อบรมเชิงปฏิบัติการ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 24.95 คิดเป็นร้อยละ 83.17 และหากเปรียบเทียบคะแนน พัฒนาการ พบว่า หลังการอบรมมีคะแนนเพิ่มสูงขึ้น เท่ากับ 7.88 คิดเป็นร้อยละ 26.27 ซึ่งจากการ ทดสอบเปรียบเทียบคะแนนหลังการอบรมเชิงปฏิบัติการ พบว่า สูงกว่าก่อนการอบรมเชิงปฏิบัติการ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และจากการเปรียบเทียบคะแนนหลังการอบรมเชิงปฏิบัติการกับเกณฑ์ ร้อยละ 70 พบว่า คะแนนหลังการอบรมเชิงปฏิบัติการสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2.2 ผลการประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ดี และอยู่ในระดับดีทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ รองลงมา ได้แก่ การใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยี การวิเคราะห์และพัฒนาหลักสูตร การวางแผน และออกแบบการจัดการเรียนรู้ และการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ตามลำดับ 1) ด้านการวิเคราะห์และพัฒนาหลักสูตร โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ดี ประเด็นที่มี ค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ครอบคลุมทั้งด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ คุณลักษณะและสมรรถนะ อยู่ในระดับดี รองลงมา ได้แก่ มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดและผลการเรียนรู้ มีความเหมาะสมสอดคล้องเชื่อมโยงกัน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับกำหนดกรอบระยะเวลาในการจัดกิจกรรม การเรียนรู้เหมาะสมสอดคล้องกับเนื้อหาและกิจกรรม อยู่ในระดับดี และสาระสำคัญกับมาตรฐาน การเรียนรู้ ตัวชี้วัด และผลการเรียนรู้มีความสอดคล้องกัน อยู่ในระดับดี 2) ด้านการวางแผนและออกแบบการจัดการเรียนรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ดี ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนและเทคนิคการจัดการ เรียนรู้เชิงรุก อยู่ในระดับดี รองลงมา ได้แก่ กำหนดโครงสร้าง เป้าหมายการเรียนรู้ได้ชัดเจนครอบคลุม ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับแผนการจัดการเรียนรู้มีองค์ประกอบสำคัญครบถ้วนและมีความสอดคล้องสัมพันธ์ กันดี อยู่ในระดับดี และออกแบบกระบวนการเรียนรู้สอดคล้องกับเป้าหมายการเรียนรู้และสาระ การเรียนรู้ อยู่ในระดับดี 3) ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ดี ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ย มากที่สุด ได้แก่ สร้างบรรยากาศการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ อยู่ในระดับดี รองลงมา ได้แก่ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสรุปบทเรียนด้วยตนเองหรือด้วยกระบวนการกลุ่ม อยู่ในระดับดี และการนำเข้าสู่ บทเรียนเหมาะสมโดยมีการแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้และมีกิจกรรมเชื่อมโยงทบทวนความรู้เดิม ที่น่าสนใจ อยู่ในระดับดี 4) ด้านการใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยี โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ดี ประเด็น ที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ สื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีที่นำมาใช้เป็นการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอน กับผู้เรียน อยู่ในระดับดี รองลงมา ได้แก่ ใช้สื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีสอดคล้องกับเนื้อหา ระดับชั้น และสาระการเรียนรู้ อยู่ในระดับดี และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนนำเสนอผลงานโดยใช้สื่อนวัตกรรมเทคโนโลยี ในรูปแบบต่าง ๆ อยู่ในระดับดี 5) ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ดี ประเด็นที่มี ค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ วัดประเมินผลด้วยรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับกำหนด เกณฑ์การวัดประเมินผลหรือแนวทางการให้คะแนนที่ชัดเจน อยู่ในระดับดี รองลงมา ได้แก่ กำหนดการ วัดประเมินผลครอบคลุมผลการเรียนรู้ทุกด้าน อยู่ในระดับดี และการวัดประเมินผลสอดคล้องสัมพันธ์กับ การจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับดี 2.4 ผลการประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน โดยมีจำนวนผู้เรียนได้รับผลการประเมิน ในระดับคุณภาพ 3 (ดีมาก) จำแนกตามสมรรถนะสำคัญ ดังนี้ ความสามารถในการสื่อสาร จำนวน 728 คน คิดเป็นร้อยละ 73.98 ความสามารถในการคิด จำนวน 705 คน คิดเป็นร้อยละ 71.65 ความสามารถ ในการแก้ปัญหา จำนวน 719 คน คิดเป็นร้อยละ 73.07 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต จำนวน 746 คน คิดเป็นร้อยละ 75.81 และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี จำนวน 734 คน คิดเป็นร้อยละ 74.59 3. ผลการประเมินกระบวนการนิเทศภายใน APDEF เพื่อเสริมสร้างความสามารถ ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนอนุบาลด่านซ้าย ตามความคิดเห็นของครูโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ การประชุม ให้ข้อมูลย้อนกลับ รองลงมา ได้แก่ การวิเคราะห์สภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการ การวางแผน การนิเทศซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับการปฏิบัติการนิเทศและการประเมินผลการนิเทศ ตามลำดับ 3.1 ด้านการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ มีการสำรวจความต้องการของครู/บุคลากรเพื่อกำหนด แนวทางการนิเทศภายในสถานศึกษา รองลงมา ได้แก่ มีการวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการ ของสถานศึกษาเพื่อออกแบบประเด็นการนิเทศภายในสถานศึกษาให้สอดคล้อง และสื่อสารในองค์กร โดยกำหนดเป้าหมายร่วมกันในการดําเนินงานนิเทศภายใน ตามลำดับ ซึง่ อยู่ในระดับมากที่สุด ทุกประเด็น 3.2 ด้านการวางแผนการนิเทศ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ย มากที่สุด ได้แก่ การจัดทำแผนการนิเทศภายในสอดคล้องกับกิจกรรมการนิเทศ รองลงมา ได้แก่ กำหนด ประเด็นการนิเทศ เครื่องมือการนิเทศภายในและเกณฑ์การตัดสินผลการนิเทศภายในสถานศึกษา และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศภายในสถานศึกษาและกำหนดบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน ตามลำดับ ซึง่ อยู่ในระดับมากที่สุดทุกประเด็น 3.3 ด้านการปฏิบัติการนิเทศ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ย มากที่สุด ได้แก่ นิเทศภายในสถานศึกษาโดยการสังเกตการสอนในชั้นเรียนเพื่อประเมินด้านการจัดการ เรียนรู้เชิงรุก ด้านการใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยี และด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ รองลงมา ได้แก่ สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบและการจัดการเรียนรู้เชิงรุกให้กับครู/ บุคลากรทุกคนถือปฏิบัติ และนิเทศภายในสถานศึกษาโดยการพิจารณาตรวจสอบแผนการจัดการเรียนรู้ เชิงรุกของครู เพื่อประเมินด้านการวิเคราะห์และพัฒนาหลักสูตร ด้านการวางแผนและออกแบบ การจัดการเรียนรู้ ตามลำดับ ซึง่ อยู่ในระดับมากที่สุดทุกประเด็น 3.4 ด้านการประเมินผลการนิเทศ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ย มากที่สุด ได้แก่ มีการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสังเกตการสอนเพื่อประเมินผลการนิเทศภายในสถานศึกษา รองลงมา ได้แก่ มีการนำเสนอผลการนิเทศภายในสถานศึกษาให้ผู้รับการนิเทศรับทราบทุกครั้ง และมีการบันทึกผลการนิเทศภายในสถานศึกษาและข้อเสนอแนะสำหรับผู้รับการนิเทศรายบุคคล ตามลำดับ ซึง่ อยู่ในระดับมากที่สุดทุกประเด็น 3.5 ด้านการประชุมให้ข้อมูลย้อนกลับ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ประเด็นที่มี ค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ มีการนัดหมายเพื่อติดตามผลการพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัติงาน รองลงมา ได้แก่ นิเทศภายในสถานศึกษาโดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อเสนอแนะในเชิงวิชาการ อย่างสร้างสรรค์ และมีการสะท้อนผลการนิเทศระหว่างผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศเพื่อนำผลไปพัฒนาปรับปรุง ตามลำดับ ซึง่ อยู่ในระดับมากที่สุดทุกประเด็น