ใบรับรองแพทย์แบบใหม่ สำหรับบรรจุข้าราชการ
ประกาศใบรับรองแพทย์แบบใหม่สำหรับการบรรจุข้าราชการซึ่งเป็นข่าวที่ผ่านมา วันนี้ครูเชียงรายเลยอยากนำเสนอในเรื่องนี้ให้กับเพื่อนครูเราทราบครับ ซึ่งนโยบายใหม่นี้เกิดจากมติของคณะรัฐมนตรี ในการยกเลิกโรคจิต-อารมณ์ผิดปกติจากการตรวจสุขภาพที่เป็นการห้าม โดยประกาศของราชกิจจานุเบกษา ซึ่งออกในวันที่ 17 ตุลาคม 2566
เนื้อหาของประกาศ ระบุว่าเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญตามกฎหมาย พ.ศ. 2566 ซึ่งได้รับมติจากคณะกรรมการแพทย์ของกรมพัฒนาสุขภาพซึ่งประกอบด้วย นพ. โอภาส การย์กวินพงศ์ ซึ่งประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2566
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด ผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญจะต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพทั้งทางกายและจิต โดยจะต้องได้รับการรับรองสุขภาพจากแพทย์แผนปัจจุบันที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรมหรือโรงพยาบาลเอกชนทุกแห่ง โดยแนบแบบใบรับรองแพทย์กับประกาศนี้
นอกจากนี้ ผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญจะต้องยื่นผลการตรวจสุขภาพพร้อมเอกสารหลักฐานอื่น ๆ ตามที่หน่วยงานของรัฐกำหนด และเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการตรวจสุขภาพทั้งหมด
ใบรับรองแพทย์แบบใหม่ที่แนบอยู่ในประกาศฉบับนี้ถูกแบ่งเป็นส่วนที่ 1 สำหรับผู้ขอรับการตรวจสุขภาพ โดยระบุข้อมูลต่อไปนี้
– ชื่อ-นามสกุล
– ที่อยู่ติดต่อ
– เบอร์โทรศัพท์
– อีเมล
– เลขประจำตัวประชาชน
ในส่วนนี้จะต้องระบุว่า “ข้าพเจ้าขอหนังสือรับรองสุขภาพเพื่อเข้ารับราชการ” และระบุตำแหน่งในกรม/กระทรวงพร้อมทั้งประวัติสุขภาพที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งเป็น 4 ข้อ
1. โรคประจำตัว ไม่มี/มี (ระบุ)
2. อุบัติเหตุและการผ่าตัด ไม่มี/มี (ระบุ)
3. เคยเข้ารับการรักษาในฐานะผู้ป่วยใน ไม่มี/มี (ระบุ)
4. ประวัติสุขภาพที่สำคัญ (เว้นช่องว่างให้กรอก)
ส่วนที่ 2 สำหรับแพทย์ผู้ตรวจ จะต้องระบุสถานที่และวันที่ตรวจ ชื่อและนามสกุลของแพทย์ที่ตรวจ และเลขที่ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม นอกจากนี้แพทย์ยังต้องรับรองว่าบุคคลดังกล่าวไม่ปรากฏโรค 5 โรคต่อไปนี้
1. โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฎอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม
2. โรคติดยาเสพติดให้โทษ
3. โรคพิษสุราเรื้อรัง
4. โรคติดต่อร้ายแรงที่ปรากฎอาการเด่นชัดหรือรุนแรงและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่
5. โรคเรื้อรังที่ปรากฎอาการเด่นชัดหรือรุนแรงและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่
แพทย์ยังต้องเขียนบรรยายการตรวจพบและความเห็นว่าควรส่งตรวจเพิ่มเติมหรือไม่ และสรุปความเห็นของแพทย์