วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี
วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี ในการสอบครูผู้ช่วย 2566 เพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการสรรหาโดยการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ มีรายละเอียด ดังนี้
– พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และที่แก้ไขเพิ่ม
– ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 ในส่วนของความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
– พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
– พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562
แนวข้อสอบครูผู้ช่วย 2566 ภาค ก วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี 10 ข้อ
1. ข้อใดไม่ใช่การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
1. ระเบียบบริหารราชการส่วนรวม
2. ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
3. ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
4. ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
2. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
1. กรุงเทพมหานคร
2. พัทยา
3. องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง
4. จังหวัดภูเก็ต
3. แผนปฏิบัติการของส่วนราชการนั้น จะต้องจัดทำขึ้นในระยะกี่ปี
1. 1
2. 3
3. 5
4. 10
4. ส่วนราชการจะมีการทบทวนภารกิจของตนว่ามีความจำเป็น หรือสมควรที่จะยกเลิก ปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงการดำเนินการต่อไปหรือไม่ โดยไม่ต้องคำนึงถึงแผนงานตามข้อใด
1. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2. แนวโน้มอัตราการการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
3. นโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา
4. แผนแม่บท
5. “การพิจารณาทางปกครอง” หมายความว่าอย่างไร
1. การเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครอง
2. การสอบสวนข้อความผิดทางการปกครอง
3. การพิจารณาโทษความผิดทางการปกครอง
4. การปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองในกรณีที่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาททางการปกครอง
6. “คำสั่งทางปกครอง” จะต้องจัดทำขึ้นในรูปแบบใดจึงจะสมบูรณ์
1. จัดทำเป็นหนังสือ
2. บอกกล่าวด้วยวาจา
3. การสื่อสารโดยรูปแบบอื่นที่มีข้อความชัดเจน
4. ถูกทุกข้อ
7. ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำจัดการหรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาลหรือเจ้าของทรัพย์นั้นจะต้องโทษอย่างไรบ้าง
1. จำคุก 5 – 20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 100,000 – 400,000 บาท
2. จำคุก 1 – 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 – 200,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
3. จำคุก 10 – 20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 500,000 – 1,000,000 บาท
4. จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
8. เจ้าหน้าที่จะต้องรับผิดเป็นการเฉพาะตัวเมื่อความผิดนั้นเกิดขึ้นในลักษณะใด
1. เป็นความผิดจากการปฏิบัติหน้าที่นอกเวลางาน
2. เป็นความผิดจากการปฏิบัติหน้าที่นอกเหนือคำสั่ง
3. เป็นความผิดนอกเหนือการปฏิบัติหน้าที่
4. เป็นความผิดที่เกิดจากการจงใจกระทำความผิด
9. ข้อใดไม่ใช่มาตรฐานจริยธรรมตามพระราชบัญญัติมาตรฐานจริยธรรม พ.ศ. 2562
1. กล้าตัดสินใจและกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง
2. มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
3. ดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดี
4. ประหยัด มัธยัสถ์ อดออม
10. ข้อใดไม่ใช่หลักสำคัญในการจัดทำประมวลจริยธรรมของหน่วยงานของรัฐที่จะกำหนดเป็นหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติตนของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
1. รักษาภาพลักษณ์ของราชการ
2. มีจิตสำนึกที่ดี
3. ไม่เลือกปฏิบัติ
4. สำนึกรักบ้านเกิดและสิ่งแวดล้อม