วันจันทร์, 11 ธันวาคม 2566

ความเป็นมาของจรรยาบรรณครูไทย

จรรยาบรรณครู หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติหรือการปฏิบัติตนของผู้ประกอบวิชาชีพครู เพื่อรักษาหรือส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของความเป็นครู

จรรยาบรรณของครูไทย มีการบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรและมีกฎหมายรองรับเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2506 โดยอาศัยอำนาจบังคับของ พ.ร.บ.ครู พ.ศ. 2488

 คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาประกาศใช้ระเบียบคุรุสภาว่าด้วยจรรยาบรรณครูพ.ศ.2539ขึ้นโดยได้ประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 7พฤษภาคม พ.ศ. 2539 มี 9 ข้อดังนี้

1. ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริมให้กำลังใจในการศึกษา เล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า

  2. ครูต้องอบรมสั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้เกิดแก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ

  3. ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ

  4. ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคมของศิษย์

5. ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และไม่ใช้ให้ศิษย์กระทำการใดๆอันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ

6. ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคมและการเมือง

7. ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครูและเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู

 8. ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์

9. ครูพึงประพฤติปฏิบัติตน เป็นผู้นำในการอนุรักษ์ และพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย

แต่ปัจจุบัน ได้ปรับเปลี่ยนเป็น

ข้อบังคับคุรุสภา

ว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2556

จรรยาบรรณวิชาชีพครูมี 5 ด้าน 9 ข้อ

จรรยาบรรณวิชาชีพครู 5 ด้าน 9 ข้อ

*
ให้คะแนนบทความนี้
[รวม: 0 เฉลี่ย: 0]


เรื่องที่เกี่ยวข้อง