1. ต่อผู้ผลิต
– กระตุ้นให้มีการปรับโครงสร้างการผลิตในประเทศทั้งสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
– ยกระดับความสามารถทางการผลิต
– ผู้ผลิต สามารถนำเข้าวัตถุดิบที่ถูกลง และลดต้นทุนการผลิต
– ผู้ผลิตสินค้าของไทย สามารถที่จะใช้ประโยชน์จาก Supply Chain ในอาเซียน เช่น การใช้วัตถุดิบหรือสินค้ากึ่งสำเร็จรูปจากประเทศอาเซียนอื่นๆ หรือ อาจโยกย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอาเซียนอื่นๆ หรือเลือกใช้ปัจจัยการผลิตที่มีความได้เปรียบสูงสุดจากประเทศอาเซียนอื่นๆ ได้อย่างเต็มที่ เช่น
● กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม มีจุดเด่นในด้านทรัพยากรธรรมชาติ วัตถุดิบ และแรงงาน
● สิงคโปร์ มาเลเซีย มีจุดเด่นในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เป็นฐานการผลิต เป็นต้น
2. ต่อผู้ส่งออก – นำเข้า
– ตลาดสินค้ากว้างขึ้น สามารถรักษาตลาดเดิม เช่น สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และขยายตลาดใหม่ เช่น จีน อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์
– เป็นประตูการค้าสู่ภูมิภาคใกล้เคียง
– ผู้ส่งออกสามารถขยายการค้าและบริการ และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันจากภาษีนำเข้าของประเทศคู่เจรจาที่ลดลง
– สร้างพันธมิตร เพิ่มอำนาจการต่อรอง
– ขยายการส่งออกและโอกาสทางการค้า เมื่ออุปสรรคภาษีและมิใช่ภาษีระหว่างอาเซียนถูกยกเลิกไปจะเปิดโอกาสให้สินค้าเคลื่อนย้ายเสรี ไทยจะมีโอกาสที่ขยายการส่งออกไปยังอาเซียนได้มากขึ้น
3. ต่อผู้บริโภค
– ผู้บริโภคซื้อสินค้าได้ในราคาที่ถูกลง เลือกซื้อสินค้าได้หลากหลายมากขึ้น
– ผู้บริโภคได้รับความคุ้มครอง จากข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกันของอาเซียน
4. ต่อเกษตรกร
– สามารถส่งสินค้าเกษตรออกไปขายได้มากขึ้น เนื่องจากภาษีสินค้าเกษตรเป็น 0
– สามารถตลาดขยายสินค้าเกษตรไปยังประเทศนอกกลุ่มได้ และมีอำนาจในการต่อรองที่สูงขึ้น
ที่มา : pcoc.moc.go.th/wappPCOC/93/upload/File_IPD_FILE9382171.doc