เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA)
อาเซียนตระหนักดีว่า ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาสันติภาพ เสรีภาพและความมั่นคง ดังนั้น นอกจากความร่วมมือทางการเมือง สังคม การศึกษา และวัฒนธรรมแล้ว อาเซียนจึงมุ่งมั่นที่จะขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันมาโดยตลอด ในปี 2535 ได้จัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟต้า (ASEAN Free Trade Area : AFTA) เพื่อขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันโดยเร่งลดภาษีสินค้าและยกเลิกมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีในอาเซียน
วัตถุประสงค์
1. สร้างความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน
2. ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ
3. สร้างอำนาจต่อรอง
เป้าหมายหลัก
1. ลดภาษีสินค้าให้หมดไป
2. ยกเลิกอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษีระหว่างกัน
อาเซียน 6 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และบรูไน ลงนามจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน ปี 2535 และเริ่มดำเนินการลดภาษีปี 2536
การลดภาษีนำเข้า
ASEAN 6
ปี 2550 : 80%ของสินค้าปกติ ต้องลดภาษี เหลือ 0%
ปี 2553 : สินค้าปกติทั้งหมดต้องลดภาษีเหลือ 0% ยกเว้น สินค้าอ่อนไหวและอ่อนไหวสูง
CLMV
ปี 2546 – 2550 : ลดภาษีสินค้าปกติเหลือ 0 – 5% ให้มากที่สุด ( 2546 เวียดนาม 2548 ลาว และพม่า 2550 กัมพูชา)
ปี 2558 : สินค้าปกติทั้งหมดต้องลดภาษีเหลือ 0% ยกเว้น สินค้าอ่อนไหวและอ่อนไหวสูง
* สินค้าอ่อนไหว : ภาษีไม่ต้องเป็น 0% แต่ต้องไม่มากกว่า 5% (sensitive List)
* สินค้าอ่อนไหวสูง : ลดภาษีที่ต้องเจรจาตกลงกัน (Highly Sensitive List)